Factors Influencing Turnover: A Case Study of a Footwear Manufacturer in Chonburi, Thailand

Authors

  • Aphinya Ngamsway

Keywords:

การลาออก , การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ , การวิจัยเชิงคุณภาพ, Turnover, Human Resource Development, Qualitative research approach

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาค้นคว้า และวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการลาออกของพนักงานผู้มีทักษะทางด้านการเย็บกรณีศึกษาจากอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า จังหวัดชลบุรี ผู้ทำการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์พนักงานที่ลาออก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม 2551 จำนวน 12 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามปลายเปิด ประมาณ 30-60 นาที และบันทึกเทป เพื่อใช้ในการถอดเทปและวิเคราะห์เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของบทสนทนา ผลการศึกษาพบว่า ความไม่พึงพอใจต่อระบบเงินเดือนและสวัสดิการลักษณะงานเย็บหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานและช่างซ่อมจักรจากฝ่ายซ่อมบํารุง เป็นปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการลาออกของพนักงาน ผู้มีทักษะทางด้านการเย็บ ในการนี้เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการลาออกของพนักงานผู้มีทักษะทางด้านการเย็บ ผู้วิจัยขอเสนอให้บริษัทพิจารณาปรับปรุงดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) ระบบเงินเดือนและสวัสดิการ เพื่อให้พนักงานสามารถบริหารรายรับและรายจ่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2) วางระบบสายการผลิตให้เกิดความต่อเนื่อง 3) จัดฝึกอบรมและพัฒนาหัวหน้างานให้มีภาวะผู้นำและทักษะการเป็นหัวหน้างานอย่างมืออาชีพ 4) จัดฝึกอบรมหลักสูตรการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีในการทำงานและการทำงานเป็นทีมให้กับพนักงานในสายการผลิตทุกคน 5) จัดฝึกอบรมหลักสูตรการบริการที่เป็นเลิศให้กับพนักงานที่เป็นช่างซ่อมจักรทุกคน  The purpose of the study was to investigate and analyze factors that affected the skilled labor turnover between July-December 2007 in the footwear manufacturer in Chon Buri, Thailand. A qualitative research approach was used in this study. Twelve participants who were no longer employed in stitching process were invited to participate. The 30-60 minutes semi-structured tape-recorded interview was conducted, used open-end questions in an interview guide. Data were coded using a qualitative approach. Codes were categorized using a cluster technique. Themes were identified and defined. Findings of the present study indicated that dissatisfaction with benefits and pay, stitching job, supervisor, co-worker and technician from maintenance department were reasons why skilled employees left this manufacturer. In order to respond to the findings, benefits and pay should be reviewed to make the employee able to balance income and expenses. Re-engineering the layout of the production line should be implemented in order to improve worker satisfaction and reduce turnover. Supervisors could have been more supportive, motivated, considerate to the employees, been more fair and polite. Training should be offered for all employees especially in the production line for avoiding a lack of teamwork and to develop relationships to be closer and friendly as well as the training of the technicians for improving service mind and polite behavior should be implemented.

Downloads

Published

2024-03-18