การจัดการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาโดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์

Thai Language Principle and Usage Learning Management by Using Concept Attainment Model

Authors

  • เฉลิมลาภ ทองอาจ

Keywords:

มโนทัศน์หลักการใช้ภาษา, Thai language principle and usage, Concept attainment model, Learning management

Abstract

รูปแบบการสอนมโนทัศน์ (concept attainment model) เป็นรูปแบบการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียน สามารถบ่งชี้ลักษณะที่ใช้เป็นเกณฑ์จำแนกของมโนทัศน์ รูปแบบการสอนนี้มีแนวคิดพื้นฐานว่ามนุษย์ มีความ สามารถในการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูลต่างๆ ได้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบการสอนมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การนำเสนอข้อมูลและระบุมโนทัศน์ 2) การทดสอบความเข้าใจมโนทัศน์ และ 3) การวิเคราะห์กลยุทธ์การคิด บทความนี้นำเสนอตัวอย่างการวิเคราะห์และการจัดการเรียนรู้มโนทัศน์ “คำเป็น” ซึ่งครูภาษาไทยสามารถนำรูปแบบการสอนดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้หลักการใช้ภาษา เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างมโนทัศน์และความสามารถในการคิด และเสนอแนะแนวทางเพื่อเสริมประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน มโนทัศน์ ได้แก่ ควรวิเคราะห์มโนทัศน์ในสาระการเรียนรู้ นำแนวคิด การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (co-operative leaning) มาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอน ของรูปแบบการสอน ควรจัดทำสื่อหรือนวัตกรรมการเรียนรู้จากแนวคิดและขั้นตอนของรูปแบบการสอน และควรนำเทคนิคการสร้างแผนผังมโนทัศน์ (concept mapping) มาใช้ในการจัดการเรียนรู้หลักการใช้ภาษาไทย  The "Concept Attainment Model”-CAM, is an indirect instructional strategy that compels students to identify the distinguishing characteristics of concept. This model based on the assertion that human being capacitates to discriminate and categorize things in groups. CAM is divided into three procedures: 1) presentation of data and identification of the concept 2) testing attainment of the concept and 3) analysis of thinking strategies. Thai language teachers can apply the CAM for Thai structural teaching in the parallel way of the Live Syllable - /kampen/, which is represented in this article, for the advaneing of thought and concept. Moreover, the researcher recommends methods to strengthen CAM by 1) learning the substantial analysis; 2) applying the co-operative learning in this model; 3) creating the media and innovation that are based on the model concept; and 4) using the concept mapping technique.

Downloads

Published

2024-03-19