ปัจจัยทางจิตสังคม และคุณลักษณะครูจิตวิทยาแนะแนว ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานของครูจิตวิทยาแนะแนว

Psychosocial Factors and Guidance Teacher's Characteristic Related to Behavioral Performance of Guidance Teachers

Authors

  • วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์

Keywords:

พฤติกรรมการทำงาน , จิตสังคม , ครูจิตวิทยาแนะแนว, Behavioral Performance, Psychosocial factors, Guidance Teacher

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรกเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการทำงานของครู จิตวิทยาแนะแนวที่มีความแตกต่างกัน 4 ปัจจัย ได้แก่ สัมพันธภาพในการทำงานลักษณะทางจิต คุณลักษณะ ครูจิตวิทยาแนะแนวและลักษณะชีวสังคม ประการที่สองเพื่อค้นหาอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยทั้ง 4 ปัจจัย ในการอธิบายพฤติกรรมการทำงานของครูจิตวิทยาแนะแนวที่มีประสิทธิผลในระดับต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูที่รับผิดชอบงานด้านจิตวิทยาแนะแนวในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตภาคตะวันออก 167 โรงเรียนๆ ละ 1 คน จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 6 ชุด คือ 1) แบบสอบถามลักษณะทางชีวสังคม 2) แบบประเมินคุณลักษณะครูจิตวิทยาแนะแนว 3) แบบวัดสัมพันธภาพในการทำงาน 4) แบบวัดความเชื่ออำนาจในตน 5) แบบวัดการรับรู้ความสามารถแห่งตนและ 6) แบบวัดพฤติกรรมการทำงานของครูจิตวิทยาแนะแนว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test, ANOVA, และ Multiple Regression Analysis  ผลการวิจัยพบว่า ครูที่มีสัมพันธภาพในการทำงานในระดับสูง และมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนในระดับสูง จะมีพฤติกรรมการทำงานจิตวิทยาแนะแนวดีกว่า ครูที่มีสัมพันธภาพในการทำงาน ในระดับต่ำ และมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนในระดับต่ำ (p < .001) นอกจากนี้ยังพบว่า สัมพันธภาพ ในการทำงาน การรับรู้ความ สามารถแห่งตน คุณลักษณะครูจิตวิทยาแนะแนวและ ความเชื่ออำนาจในตน ร่วมกันทำนายประสิทธิผลของพฤติกรรมการทำงานของครูจิตวิทยาแนะแนวได้ร้อยละ 50.1  The purpose of this research were explore the effects of 4 factors; work relationship, psychological characteristic, guidance teacher's characteristic, and bio-social characteristic on behavioral performance of guidance teachers, and compare the predictive powers of the 4 factors on the difference level of behavioral performance of guidance teachers. The sample consisted of 167 secondary school guidance teachers in the castern region of Thailand. The instruments used for data collection were 6 questionnaires 1) bio-social characteristic 2) guidance teacher's characteristic 3) work relationship 4) internal locus of control 5) self-efficacy and 6) behavioral performance of guidance teachers. Data was analyzed by t-test, ANOVA, and Multiple Regression Analysis.  The results revealed that work relationship and self-efficacy of guidance teachers were found to be highly related to behavioral performance of guidance teachers (p<.001). The results showed that work relationship, self-efficacy, guidance teacher's characteristic, and internal locus of control were more powerful predictors of behavioral performance of guidance teachers at 50.1%.

Downloads

Published

2024-03-19