การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน “รำสวด” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี

The Development of Local Curriculum on “Ramsuad” Folk Play for Matthayomsuksa One Students of Benjamanusorn School, Chanthaburi Province

Authors

  • รุ่งทิวา ผลพฤกษา

Keywords:

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น , การละเล่นพื้นบ้าน “รำสวด”, Development of Local Curriculum, “RAMSUAD” Folkplay

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การละเล่นพื้นบ้าน “รำสวด” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี มีวิธีการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1. การสร้างหลักสูตร 2. การประเมินหลักสูตรก่อนนำไปใช้ 3. การทดลองใช้หลักสูตร 4. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้หลักสูตร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 1 ห้องเรียน 39 คน ซึ่งได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มด้วยวิธีการจับสลาก ประเมินหลักสูตรโดยวิธี Puissance Measure (P.M.) เพื่อหาคุณภาพของหลักสูตรก่อนนำไปทดลองใช้โดยผู้วิจัยเป็นผู้สอนเอง ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดการเห็นคุณค่าดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test Dependent) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ได้หลักสูตรท้องถิ่นที่มีองค์ประกอบเหมาะสม สอดคล้องกัน สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น เหมาะสมกับผู้เรียน ผู้เรียนสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพและใช้ในชีวิตประจำวันได้  2. ผลการใช้หลักสูตรพบว่า หลักสูตรท้องถิ่นที่สร้างขึ้นมีคุณภาพสูงหรือดีมาก ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการเห็นคุณค่าการละเล่นพื้นบ้าน “รำสวด” สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  The purposes of this research were to develop and the results of the local curriculum on “Ramsuad" Folk Play for Matthayomsuksa One Students of Benjamanusorn School, Chanthaburi Provinces and study the effects of the curriculum implementation. The research procedure was divided into 4 phases: 1) constructing the curriculum 2) evaluating pre-implementation 3) implementing the curriculum and 4) revising the curriculum. The samples used in the curriculum implementation were 39 students of Benjamanusorn School in the semester of the 2008 academic year. They were selected through cluster sampling. The curriculum was evaluated through Puissance Measure (P.M.) model in order to identify its value before being implementation. The achievement test was used to compare pretest and posttest scores scorws and the appreciation form was used to indicate the value of the “Ramsuad” folk play. The one-Group Pretest-Posttest Design was employed in the experiment. The data was analyzed by the following statistics: mean, standard deviation and t-test.  The findings of the research were as follows: 1. The curriculum components were well related. It was proved to be appropriate for the community and the leamers. The students could apply it for their career and in their daily life. 2. The curriculum was also verified at high-quality level. The posttest score of the achievement test and appreciation test were significantly higher than those of the pretest score at the .01 level.

Downloads

Published

2024-03-19