Employee Turnover: (A Case Study of an Electronic Company in Laemchabang industrial Estate)
Keywords:
การลาออกของพนักงานบริษัท, Employee turnover, Employee resignation, Employee retentionAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายเหตุผลในการลาออกของพนักงานบริษัทอิเล็คทรอนิคส์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง การเก็บข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ส่งผลให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้สึก ประสบการณ์ และความข้อคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่ลาออกโดยสมัครใจทั้งหมด 13 คน ตั้งแต่มกราคม 2550 ถึง พฤษภาคม 2551 ผลการศึกษาพบ 2 ประเด็นสำคัญ คือ ข้อด้อยของบริษัทเดิมและข้อเด่นของบริษัทใหม่ ข้อด้อยของบริษัทเดิม คือ การจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการที่ไม่เหมาะสม, โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นไปได้ยาก, การประเมินผลการทำงานไม่ยุติธรรม, การบริหารบุคคลไม่เหมาะสม, การบริหารระบบการทำงานด้อยประสิทธิภาพ, การสื่อสารในองค์กรที่ไม่เหมาะสมและขาดประสิทธิภาพ, การดำเนินงานของผู้บริหารที่ไม่เหมาะสมและหัวหน้างานโดยตรงขาดคุณสมบัติการเป็นผู้นำ ส่วนข้อเด่นของบริษัทใหม่ คือ เงินเดือนและสวัสดิการที่ดีกว่า, โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานและความรับผิดชอบที่สูงขึ้นของบริษัทใหม่, โอกาสที่จะได้ทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการ, ชื่อเสียงที่ดีของบริษัทและอุตสาหกรรม ที่น่าสนใจและที่ตั้งของบริษัทใหม่อยู่ใกล้กับครอบครัวทั้งนี้ผู้วิจัยขอเสนอแนะบุคลากรทางฝ่ายทรัพยากร มนุษย์เกี่ยวกับแนวโน้มในการศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ในงานวิจัยครั้งต่อไป The purpose of this research was to identify and explain reasons related to employee turnovers of an electronics company in Laemchabang Industrial Estate. Qualitative research approach was used to gain a deep understanding of the perceptions, feelings, experiences, and opinions through in-depth interviews. Data was collected by in-depth interviews from thirteen monthly employees who resigned during January 2007 to May 2008. The research results found two important themes, the weakness of former company and the strength of the new company. The weakness of the former company were: improper salary and welfare, low opportunity on career path, unfair performance evaluation, improper human resource management, lack of efficiency on work system management, improper and insufficient internal communication, improper decision and behaviors by executives, and lack of leadership from direct supervisor. The strength of the new company included higher salary and welfare, better chance for promotion and responsibility, chance to work matching with their needs, company and industry had good reputation, and the new company location being near their family. Recommendations were given for the management personnel as well as human resources personnel. Future research is also suggested.Downloads
Published
2024-03-19
Issue
Section
Articles