การสิ้นสุดระบบไพร่และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในสมัยรัชกาลที่ 5
The End of the Serfs System and Educational Management for & Manpower Development in the Reign of King Rama V
Keywords:
ไพร่, การพัฒนากำลังคน, การศึกษา, การสิ้นสุดระบบไพร่, สมัยรัชกาลที่ 5, การจัดการศึกษาAbstract
การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญที่คนในสังคม จะต้องได้รับตามสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน หากแต่ระบบสังคมในบางยุคสมัยไม่เอื้ออำนวยให้อย่างเท่าเทียมกัน จึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมตามมา ในสมัยก่อนมีไพร่ อยู่ในสังคมไทยมายาวนานตั้งแต่โบราณแต่อาจมีความหมายต่างไปจากที่เข้าใจและใช้กันในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง คนที่อยู่ในฐานะต่ำต้อย แต่ระบบไพร่ในอดีต เป็นระบบการใช้แรงงานของราษฎรในกิจการ ของบ้านเมือง ส่วนมากเป็นผู้ชายที่ถูกเกณฑ์ ใช้เป็นแรงงานด้านต่าง ๆ ดังนั้น จึงเป็นระบบที่ใช้ควบคุมกำลังคนที่เกณฑ์มาทำงานให้แก่บ้านเมือง หากไม่สามารถมารับใช้ในงานแผ่นดินได้ ไพร่ต้องเสียเงินหรือสิ่งของเป็นการทดแทน และทางการจะให้ความคุ้มครอง ตามระเบียบที่ทางการกำหนดไว้เป็นการตอบแทน คำว่าไพร่จึงมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าราษฎร ในขณะนั้น การควบคุมกำลังคนเพื่อทำงานให้บ้านเมืองที่เรียกว่าระบบไพร่นี้มีมา ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นการควบคุมแรงงานคนมาทำงานให้ทางการ ไพร่จึงมีการสักเครื่องหมายเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ บ่งบอกสังกัด เรียกว่าเลก หรือเลขในขณะนั้นชายฉกรรจ์ที่ถือเอาความสูงของร่างกายเป็นเกณฑ์ คือเมื่อสูงเสมอไหล่ 2 ศอกครึ่ง จะถูกเกณฑ์แรงงาน จึงขึ้นบัญชีไว้รอให้ทางการหรือมูลนาย เกณฑ์แรงงานและทรัพย์สินไปโดยไม่ได้ค่าจ้าง แรงงานตอบแทน นอกจากนี้ยังต้องนำอาหารไปทานเอง นำพาหนะของตน เช่น วัว ควาย ช้าง - ม้า เกวียน เครื่องมือเครื่องใช้ของตนไปทำงาน ที่ได้รับมอบหมายด้วย ไพร่ที่มีมูลนายสังกัด จะได้รับการคุ้มครองจากมูลนายหากถูกรังแกหรือ มีเรื่องราวเกิดขึ้น ส่วนไพร่ที่ไม่มีมูลนายสังกัด ไม่มีสิทธิฟ้องร้องและอาจถูกจับเพราะมีกฎหมาย กำหนดให้รางวัลแก่ ผู้ที่นำจับไพร่ที่ไม่มีมูลนาย สังกัดสำหรับไพร่หลวง ซึ่งสังกัดกรมที่ขึ้นตรง ต่อพระมหากษัตริย์ ได้รับการคุ้มครองโดยตรงจากทางการ (กฎหมาย ตราสามดวง เล่ม 2, 2505:32) เท่ากับว่าไพร่ ได้รับการคุ้มครองแต่ขณะเดียวกัน ก็ได้รับการควบคุมและการจำกัดตัดสิทธิ์ของตน ไปด้วยเช่นการศึกษา การประกอบอาชีพ การใช้ชีวิตประจำวันเป็นต้น เพราะต้องไปใช้แรงงานทำงานให้บ้านเมืองDownloads
Published
2024-03-22
Issue
Section
Articles