อิทธิพลการรับรู้ของบิดามารดาและครูที่มีต่อการรับรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

The Effect of Parent and Teacher Perceptions on the Self-Perceptions of Mathematical Ability among Grade 6 Students

Authors

  • เสรี ชัดแช้ม

Keywords:

ความสามารถทางคณิตศาสตร์, คณิตศาสตร์, นักเรียนมัธยมศึกษา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดล ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้ของบิดามารดาและครูกับการรับรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดของเอ็คเคร์สและคณะ (Eccles et al., 1993 ) และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียน 5 โรง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีและจันทบุรี ปีการศึกษา 2547 จำนวน 238 คน โมเดลประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 4 ตัว ได้แก่ ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่ผ่านมาการรับรู้ของบิดามารดาเกี่ยวกับความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน การรับรู้ของครูเกี่ยวกับความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนและการรับรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของ นักเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามผู้ปกครองเรื่องการรับรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน แบบสอบถามครูเรื่องการรับรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน และแบบสอบถามนักเรียนเรื่องการรับรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นใช้ โปรแกรม SPSS และการตรวจ สอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ใช้โปรแกรม LISREL 8.71  การผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้ของบิดามารดาและครูกับ การรับรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ปรับแก้แล้วมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 34.47 ที่องศาอิสระเท่ากับ 24 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ .08 ดัชนี GFI เท่ากับ 97 ดัชนี AGFI เท่ากับ .93 ดัชนี CFI เท่ากับ 99 ค่า SRMR เท่ากับ 04 และค่า RMSEA เท่ากับ .04 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวน ของตัวแปรการรับรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้ร้อยละ 68 การรับรู้ของบิดา มารดาและการรับรู้ของครูมีอิทธิพลทางตรงต่อการรับรู้ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า ถ้าบิดามารดาและ/ หรือครูรับรู้ว่านักเรียนมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ในระดับสูง นักเรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้ว่าตนเองมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์สูงด้วย  The purposes of this research were to develop and validate a causal relationship model between parent perceptions, teacher perceptions, and self-perceptions of mathematical ability among Grade 6 students, based on the concepts of Eccles et al. (1993) and related literature. The sample consisted of 238 Grade 6 students in five schools under the jurisdiction of the Chon Buri and Chanthaburi Education Service Area Office, in the 2004 academic year. The model consisted of four latent variables: previous mathematics performance, parent perceptions, teacher perceptions, and student perceptions of mathematical ability. Research instruments included the parent perceptions questionnaire, the teacher perceptions, and the student perceptions of mathematical ability questionnaire. SPSS was employed for descriptive statistics; LISREL 8.71 was used to analyze the causal relationship model.  Results indicated that the adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit indicators included a chi-square value of 34.47 with 24 degrees of freedom; p=.08; GFI = 97; AGFI = .93; CFI = .99; SRMR = .04, and RMSEA =.04. The model was found to account for 68% of the variance in student perceptions. The influences of parent perceptions and teacher perceptions on student perceptions of mathematical ability were statistically significant, indicating that students tended to perceive themselves at a high level if their parents and/or teachers perceived them to be at that level.

Downloads

Published

2024-03-22