ผลการให้คำปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อความสอดคล้องในการมองโลกของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย
The Effects of Neuro-Linguistic Programming on Sense Coherence of Attempted Suicidal Clients
Keywords:
การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต, การแนะแนวสุขภาพ, สุขภาพจิต, การฆ่าตัวตายAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการให้คำปรึกษาทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัสต่อความสอดคล้องในการมองโลกของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 12 คน ที่มีคะแนนความสอดคล้องในการมองโลกต่ำกว่า 87 และ สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จากนั้นจึงสุ่มอย่างมีระบบ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 6 คน กลุ่มทดลองได้รับการให้คำปรึกษา โดยใช้ทฤษฎีโปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส 3 เทคนิค เทคนิคการสร้างทรรศนะใหม่ ใต้จิตสำนึกแบบองค์รวม เทคนิครัศมีพลังแห่งตน และเทคนิคการวาง แผนอนาคต การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามความสอดคล้องในการมองโลกของ แอนโทนอฟสกี้ การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่มและวิธีทดสอบรายคู่แบบนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย กลุ่มทดลองมีคะแนนความสอดคล้องในการมองโลกสูงกว่ากลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย กลุ่มทดลองมีคะแนนความสอดคล้องในการมองโลก ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล สูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน The purpose of this research was to study the effects of Neuro-linquistic programming on sense of coherence of attempted suicidal clients. The sample consisted of twelve attempted suicidal clients at a hospital in Samutprakarn, who had the sense of coherence score lower than 87. These clients volunteered to join the research. The samples were divided into two groups by systematic random sampling and were assigned into the experimental group and the control group, with six members each. The experimental group was given three neuro linguistic programming techniques: the Global Unconscious Reflaming; the Personal Power Radiator, and the Future Planner. A questionnaire on Sense of Coherence by Antonovsky was used for collecting the data. The data collection procedure was divided into three phases; the pre- test, the post-test and the follow-up. The data were analyzed by repeated-measures analysis of varience-one between-subjects and one within-subject and Newman-Keuls procedure. The results revealed that the interaction between the methods and the duration of the experiment was found the statistically significant at .05 level. The participants in the experimental group demonstrated significantly higher than the control group at .05 level on sense of coherence in both the post-test and the follow-up. The experimental group had higher sense of coherence in the posttest and follow-up than the pre-test. No significant difference was found on sense of coherence during the post-test phase and the follow-up phase of the experimental group.Downloads
Published
2024-03-22
Issue
Section
Articles