รูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี จังหวัดชลบุรี

The way of life of the over 100 years elderly in Chonburi Province, Thailand

Authors

  • สมโภชน์ อเนกสุข
  • กชกร สังขชาติ

Keywords:

รูปแบบการดำรงชีวิต, ผู้สูงวัย , ผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี จังหวัดชลบุรี เปรียบเทียบรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยตามการรับรู้ของผู้สูงวัยที่มีความสุข และไม่มีความสุข และเปรียบเทียบรูปแบบการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมทางกายภาพคือ ผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 10 ท่าน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้สูงวัยเองและลูกหลานหรือผู้ดูแล การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์ระดับลึกประกอบการสังเกตสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ใช้สถิติร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการจำแนกข้อมูล และจัดหมวดหมู่ตามประเด็นเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า  1. รูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยอายุ เกิน 100 ปี ตามกลไกที่สังคมกำหนดแบ่งผู้สูงวัย ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ช่วยตัวเองได้กับกลุ่มที่ช่วยตัวเองไม่ได้ พบว่า ผู้สูงวัยที่ช่วยตัวเองได้ จะทำกิจวัตรประจําวันได้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ลูกหลานหรือผู้ดูแลจะคอยช่วยเหลือตามความจำเป็น ส่วนผู้สูงวัยที่ช่วยตัวเองไม่ได้ต้องมีผู้คอยช่วยเหลือทำกิจวัตรประจำวันให้ทั้งหมด เวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับการนอน ในภาพรวม พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่จะมีระบบขับถ่ายดีทุกวัน ท้องไม่ผูกรับประทานอาหารพื้นบ้านหรืออาหารจากธรรมชาติ ดื่มน้ำธรรมดา ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่สามารถทำงาน เพื่อหารายได้ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นได้น้อยและไม่ค่อยได้ออกไปนอกบ้าน  2. รูปแบบการดำรงชีวิตตามการรับรู้ของผู้สูงวัยที่มีความสุขและไม่มีความสุข พบว่า ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองจากการเอาใจใส่จากครอบครัวไม่แตกต่างกัน ผู้สูงวัยที่ไม่มีความสุข เกิดจากช่วยตัวเองไม่ได้โดยเฉพาะในเรื่องการออกกำลังกาย ในภาพรวมผู้สูงวัยที่ช่วยตัวเองได้ มีความสุขมากกว่าผู้สูงวัยที่ช่วยตัวเองไม่ได้  3. รูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยตามสภาพแวดล้อมทางกายภาพ คือ ผู้สูงวัยที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล มีรูปแบบการดำรงชีวิตคล้ายคลึงกันในด้านภาวะทางสุขภาพ รายได้ที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน ความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว กิจกรรมทางสังคมที่ไม่สามารถทำได้ และความปลอดภัย แต่ลักษณะที่อยู่อาศัยแตกต่างกันคือ ผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลมักอยู่ในบ้านที่ใกล้กับบ้านหลังอื่น ๆ หรือเป็นอาคารพาณิชย์ ส่วนผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาล มักอยู่ในบ้านเดี่ยวหรือบ้านที่มีพื้นที่บริเวณกว้างลักษณะร่วมกันทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล คือ ถ้าเป็นบ้านของผู้สูงวัยเองจะเป็นบ้านเก่า หลังใหญ่และมีสภาพชำรุด แต่ถ้าเป็นบ้านของลูกหลาน บ้านจะมีลักษณะใหม่และทรงทันสมัย หรือเป็นอาคารพาณิชย์ตามลักษณะอาชีพของลูกหลาน  ข้อเสนอแนะของคณะผู้วิจัยครั้งนี้ เสนอแนะให้ผู้ที่ต้องการจะมีอายุยืนอย่างมีความสุข นำรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงวัย อายุเกิน 100 ปี ไปปฏิบัติเสียตั้งแต่แรก เช่น การรับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย ไม่มากจนเกินไป ดื่มน้ำธรรมดา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งรักษาสุขภาพจิตของตนเองให้สดชื่นผ่องใส  The purpose of this research was to study the way of life of the over 100 years elderly in Chonburi, to compare the way of life of the over 100 years elderly on the aspect of their happiness and unhappiness and compare the way of life on the aspect of their environmental habitation: in a municipality and non-minicipality. The sample was consisted of 10 elderly in Muang District, Chonburi Province. Data collection was made by asking questions, making an interview, environmental observation and other things directly related to the way of life of the elderly or from the descendants or caretakers. The analysis of basic data was by using percentage and qualitative data. Classifications of content was employed to present the findings. The results of the study revealed that:  1. The way of life of the over 100 years elderly was, by social mechanism, devided into 2 groups, one was being able to help themselves, the other was unable to help themselves. The study found that the elderly who helped themselves were able to do most routine work themselves. The descendants or caretakers helped them when necessary. The other group who were not able to help themselves had to have helpers and most of the time was passed by sleeping. As a whole, it was found that most elderly open their bowels daily, they ate natural food, drink fresh water, no alcoholic drinks, and did not smoke. They were not able to earn a living and could hardly support others. They usually did not go out.  2. Whether the way of life of the elderly was happy or unhappy, it was found that there was no difference regarding the sense of value from family action. The elderly were not happy because they were not able to help themselves especially in exercises. As a whole it was found that the elderly who were able to help themselves were much happier than those who were not able to help themselves. 3. The way of life of the elderly as to their physical environment: it was found that the elderly who lived in the minicipality and non-minicipality led their way of life similarly as to health conditions, financial support from descendants, relation with family. They also had to rely on their descendants on social activity and safety. The location of their habitation was different: those who lived in minicipality live in a house closing to the others, but those who lived in a non-minicipality, the house was desolated in a large area. If the house belonged to the elderly, the house was old, big and deteriorated; if the house belonged to descendants, the house was new and modern and was in the area closed to the work place of the descendants.  Suggestions: The researchers would like to suggest that those who want longevity should live the way of the over 100 years elderly do; that is, eating natural diet, not too much, of course; drinking fresh water, exercising and having a healthy attitude towards life.

Downloads

Published

2024-03-26