การวิเคราะห์องค์ประกอบการประเมินผลการฝึกสอนของนิสิตฝึกสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
A factor analysis of the student teaching evaluation at the faculty of education, Burapha University
Keywords:
การฝึกสอน, การประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ - นักศึกษาAbstract
การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์องค์ประกอบ การประเมินผลการฝึกสอนของนิสิตฝึกสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อหาองค์ประกอบที่เหมาะสมในการประเมินผลการฝึกสอนของนิสิตฝึกสอนจากความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์อาจารย์พี่เลี้ยงกับผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนหน่วยฝึกสอนของคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อจัดอันดับความสำคัญขององค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยงของนิสิตฝึกสอน และผู้บริหารโรงเรียนหน่วยฝึกสอนปีการศึกษา 2544 จำนวน 293 คน ผลการวิจัยพบว่าในการแสดงความคิดเห็นต่อองค์ประกอบต้นแบบ 8 องค์ประกอบที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น คือการเตรียมการสอนการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ การปฏิบัติตน ความรู้ ความสามารถ การพัฒนาการสอนและการปฏิบัติงานพิเศษนอกเหนือจากงานสอนกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าทุกองค์ประกอบมีความสำคัญระดับ 4.25 ขึ้นไป ยกเว้นองค์ประกอบเรื่องการปฏิบัติ งานพิเศษนอกเหนือจากงานสอนที่มีค่าความสำคัญระดับ 3.86 เมื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องการเตรียมการสอนมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบใหม่ด้วยการ Rotate Component Matrix พบว่าการจับกลุ่ม ขององค์ประกอบเปลี่ยนแปลงไปจากองค์ประกอบต้นแบบที่ทำเป็นแบบสอบถาม กล่าวคือ มีองค์ประกอบที่ชัดเจนด้วยมีตัวแปรมากกว่า 4 ตัวแปร องค์ประกอบการประเมินผลการฝึกสอน จากการวิจัยครั้งนี้มี 5 องค์ประกอบ คือ 1. องค์ประกอบด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. องค์ประกอบด้านการปฏิบัติตน 3. องค์ประกอบด้านการปฏิบัติงานพิเศษ นอกเหนือจากงานสอน 4. องค์ประกอบด้านความรู้ความสามารถ 5. องค์ประกอบด้านการเตรียมการสอนงานวิจัยเรื่องนี้ จึงได้ข้อสรุปของการ วิเคราะห์องค์ประกอบใหม่ว่า ในการประเมินผลการฝึกสอนของนิสิตฝึกสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต้องให้น้ำหนักความสำคัญ เรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด และให้น้ำหนักความสำคัญเรียงลำดับจากมากไปสู่น้อย จากเรื่องการปฏิบัติตน การปฏิบัติงานพิเศษ นอกเหนือ จากงานสอนความรู้ความสามารถ และการเตรียมการสอน The purpose of this research was to find out the suitable factors for evaluating the practicum of student teaching. The questionnaire was used for gathering the data in 2544 BE. The 293 samples were composed of three groups; supervisors from university, supervisors from schools where the students teaching taught, and the administrators. The research results indicated that in the original 8 factors: the preparation for teaching, making learning atmosphere, apply learning activities, the behaviors of the student teaching, the knowledge, the improvement of teaching, and extra work, the samples weight each factor at 4.25 from 5 except the factor named extra work, they weighted this factor at 3.86. The most important factor was the preparation for teaching. The researcher reanalyzed the 8 factors by Rotate Component Matrix it was found that there were five new cluster of factors, they were: 1. Factor of apply learning activities 2. Factor of behaviors 3. Factor of extra work. 4. Factor of knowledge 5. Factor of preparation for teaching. This research revealed that when to evaluate the practicum of student teaching the Faculty of Education must consider the new cluster of factors instead of the original factors, for example the Faculty of Education must pay attention in apply learning activities as the first piority.Downloads
Published
2024-03-27
Issue
Section
Articles