ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

Factors Affecting School Effectiveness of Primary Schools Under the Office of National Primary Education Commission

Authors

  • ภารดี อนันต์นาวี

Keywords:

โรงเรียน – การบริหาร, โรงเรียนประถมศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 730 คน ใน 12 เขตการศึกษา ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ ค่าสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ส่วนการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น ใช้โปรแกรม PERLIS 2.30 และ LISREL version 8.30  ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โครงสร้างเชิงเส้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถม ศึกษา พบว่าตัวแปรที่ส่งผลทางบวกสูงสุดต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา คือสถานการณ์โรงเรียน รองลงมา คือคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหาร และบรรยากาศของโรงเรียน ตามลำดับ และร่วมกันทำนาย ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาได้ร้อยละ 74 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ คุณลักษณะ ผู้นำของผู้บริหารสถานการณ์โรงเรียน และบรรยากาศของโรงเรียนส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ในขณะที่สถานการณ์โรงเรียนส่งผลทางอ้อมผ่านบรรยากาศของโรงเรียน ไปยังประสิทธิผลของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และส่งผลทางตรงต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหาร ปัจจัยคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารส่งผลทางตรงต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหาร แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการบริหาร พฤติกรรมการบริหารส่งผลทางตรงต่อบรรยากาศของโรงเรียน และสถานการณ์โรงเรียนมีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และได้รูปแบบความ สัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะ กรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับได้  The objective of this research was to determine factors affecting primary schools effectiveness in order to construct a linear structural relation model of factors affecting school effectiveness of primary schools under the Office of National Primary Education Commission. The sample consisted of 730 primary school Cache working in primary schools selected from 12 Educational Regions under the jurisdiction of the Office of National Primary Education Commission through proportional multi stage sampling. The research instruments used in this study were sets of rating scale questionnaires on factors affecting school effectiveness.  The SPSS program was used in order to analyze the descriptive statistic. The PERLIS and LISREL programs were applied to analyze the construction of the structural relationship model and to analyze the confirmatory factor analysis. The findings were as follows: the variable affecting most positively school effectiveness was school situations. It was followed by leadership traits and school climates. They could predict effectiveness of primary schools by 79 percent with statistical significance at .01 level. Leadership traits, school situations and school climates directly affected school effectiveness. Whereas school situations indirectly affected the school effectiveness through school climates with statistical significance at .01 level. And, school situations directly affected achievement motives of administrators. Leadership traits directly affected achievement motives of administrators. Besides, achievement motives of administrators directly affected administrative behaviors. Administrative behaviors directly affected school climates. School situations was correlated to leadership traits with statistical significance at .05 level. Linear Structure Relationship mode factors affecting school effectiveness of primary schools under the Office of National Primary Education Commission was obtained with its congruity with reliable and accepted evident data.

Downloads

Published

2024-03-28