การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง นครปฐมบ้านเรา สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

The Development of Local Curriculum on “Nakhonpathom Ban Rao” for Prathom Suksa Four Students

Authors

  • อิทธิเดช น้อยไม้

Keywords:

การวางแผนหลักสูตร, การศึกษา – หลักสูตร, หลักสูตรท้องถิ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง นครปฐมบ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร 4) การประเมินหลักสูตร  กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้หลักสูตร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน ประถมฐานบินกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2544 จำนวน 78 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง 39 คน กลุ่มควบคุม 39 คน กลุ่มทดลองเรียนตามหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง นครปฐมบ้านเรา ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้เรียนตามหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง นครปฐมบ้านเรา ดำเนินการทดลอง โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ nonrandomized control – group pretest – posttest design สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรท้องถิ่น สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้ตามหลักสูตรท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรท้องถิ่น หลังเรียนตามหลักสูตรท้องถิ่น สูงกว่าก่อนเรียนตามหลักสูตรท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) เจตคติที่มีต่อจังหวัดนครปฐมของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรท้องถิ่น สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนตามหลักสูตรท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  The purpose of this research was to develop a local curriculum on “Nakhonpathom Ban Rao” for Prathom Suksa four students. The research procedure was divided into four phases: 1) Preliminary Study; 2) Curriculum Development; 3) Curriculum Implementation and 4) Curriculum Evaluation. The sample used in this curriculum implementation was 78 Prathom Suksa four students in the second semester of the 2001 academic year of Prathom Tharnbin Kampangsaen School, Nakhonpathom Province. They were selected by using cluster sampling and divided into the experimental and control groups, with 39 students in each. The experimental group was instructed through the local curriculum on “Nakhonpathom Ban Rao” whereas the control group was not. The nonrandomized control-group pretest-posttest design was used in the experiment. Statistical techniques used in this study were mean, standard deviation and t-test.  The results of the curriculum implementation indicated that: 1. The students’ achievement of local curriculum of the experimental group was significantly higher than that of the control group at .01 level. 2. The students’ achievement of local curriculum of the experimental group after the experiment was significantly higher than before the experiment at .01 level. 3. The attitude towards Nakhonpathom province of the experimental group was significantly higher than that of the control group at .01 level.

Downloads

Published

2024-03-29