นโยบายพัฒนาการศึกษาชาติ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9
Keywords:
การปฏิรูปการศึกษา, การพัฒนาการศึกษา, นโยบายการศึกษาAbstract
ประเทศไทยในปัจจุบันอยู่ในยุคของการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ นับจากการก่อตั้งสภาการศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2502 จวบจนถึงวันนี้ก็นับเป็นเวลากว่า 43 ปีที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วซึ่ง 43 ปีที่ผ่านไปเต็มไปด้วยเหตุการณ์และความผันแปรมากมาย โดยประวัติของการวางแผนในประเทศไทยก็วิวัฒนาการไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก โดยการวางแผนกำลังคนเป็นประเด็นหลักและเป็นเป้าหมายของการวางแผนพัฒนาในระยะแรก ด้วยทฤษฎีของการวางแผนกำลังคนตามแนวทางของชาติตะวันตก ที่เน้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์ว่าเป็นทุนที่มีความสำคัญที่สุด ในประเทศไทยการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจ และสภาการศึกษาที่มีพื้นฐานมาจาก แนวความคิดดังกล่าว แต่ในความเป็นจริงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ที่ผ่านมาของไทยจวบจนถึงฉบับที่ 7 แนว นโยบายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ต่างมุ่งเน้นมุ่งไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ความสำคัญการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก จากวิกฤติเศรษฐกิจไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540 ชี้ได้อย่างชัดเจนว่าไทยมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง ซึ่งอาจารย์วิทยากร เชียงกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยรังสิต เห็นว่าปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจไทยที่ผ่านมานี้ ไม่ใช่ความผิดพลาดทางเทคนิคของการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่มีสาเหตุสืบเนื่องมายาวนานทั้งหมด 4 สาเหตุด้วยกัน ซึ่งเรื่องการศึกษาก็เป็น 1 ใน 4 ของสาเหตุดังกล่าว คือ การที่ระบบการศึกษาสอนและถ่ายทอดความรู้ ยังเป็นท่องจำจากตำรา และการลอกเลียนต่างประเทศ ขาดการคิดวิเคราะห์ค้นคว้า วิจัย วิพากษ์วิจารณ์เป็นของตัวเอง ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงแนวทางการพัฒนาที่ผิดพลาด ไม่มีระบบสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าที่ดี รวมทั้งไม่มีความสนใจที่จะรับฟังการเตือนภัย หรือ วิพากษ์วิจารณ์ของผู้ที่มีแนวคิดแตกต่างออกไปจากแนวคิดการพัฒนาแบบเน้นการเจริญ เติบโตของการลงทุนต่างชาติที่ทำให้คนไทยต้องเดินทางหลังต่างชาติมาตลอด และในที่สุดปัญหาก็ลุกลามจนกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในที่สุดDownloads
Published
2024-03-29
Issue
Section
Articles