เจตคติต่อคอมพิวเตอร์ ของนิสิตชั้นปีที่ 2 (รุ่นปีการศึกษา 2541) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Attitudes toward Computer of the Second Year Students, Faculty of Education, Burapha University

Authors

  • นัญฑา ผลิตวานนท์

Keywords:

การสำรวจทัศนคติ, คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์กับเยาวชน

Abstract

การศึกษานี้เป็นการสํารวจเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ของนิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 319 คน ภาคปลายปีการ ศึกษา 2542 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาและเปรียบเทียบเจตคติของนิสิตระหว่างกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในการศึกษาและยังไม่กลุ่มที่ลงทะเบียนเรียน ต้นภาคเรียนและปลายภาคเรียน และเปรียบเทียบเจตคติของนิสิตกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในการศึกษา ระหว่างก่อนและหลังเรียนแบบสอบถามที่ใช้ในการสํารวจนี้ คือ แบบสอบถามเจตคติต่อคอมพิวเตอร์แบบสอบถาม เรียบเรียงเป็นภาษาไทย จากแบบสอบถามของคริสเตนเซ่นและคาเนเซค มหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส รัฐเท็กซัส และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและภาษาที่ใช้โดยผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน แบบสอบถามเจตคติมี 84 คำถาม เป็นคำถาม 1). ถามความคิดเห็น 5 ระดับแบบลิเคิร์ต ถามเจตคติ 7 ด้าน 2) คำถามสองด้านแบบเคยถามความรู้สึก 3 อย่างว่าชอบสิ่งไหน สิ่งไหนยาก และเรียนรู้จากสิ่งไหนระหว่าง การอ่านหนังสือ เขียน ดูทีวีและ ใช้คอมพิวเตอร์ 3). ถามการมีคอมพิวเตอร์และใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) การสำรวจเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2542 ครั้งที่สองเดือนกุมภาพันธ์ 2543 จากการสำรวจเจตคติต่อคอมพิวเตอร์ของนิสิต 7 ด้าน ได้ผลดังนี้ ด้านความสำคัญ ด้านความเพลิดเพลิน ด้านแรงจูงใจ/เพียรพยายาม ด้านนิสัยการเรียน ด้านความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี ด้านความวิตกกังวล อยู่ในระดับน้อย และด้านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียน และไม่ลงทะเบียนเรียน ต้นภาคเรียน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทางสถิติที่ระดับ .001 ด้านนิสัยการเรียน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านแรงจูงใจ/เพียรพยายาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ลงทะเบียนเรียนและไม่ลงทะเบียนเรียน ปลายภาคเรียน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านนิสัยการเรียน เปรียบเทียบเจตคติของนิสิตของนิสิตระหว่างกลุ่มที่ลง ทะเบียนเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในการศึกษา ระหว่างต้นภาคเรียนและปลายภาคเรียน ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในแต่ละด้าน จากแบบสอบถามเจตคติสองด้าน นิสิตส่วนใหญ่เห็นว่าการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องยากแต่ช่วยในการเรียนรู้นิสิตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านเพียงร้อยละ 26 และใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้านเพียงร้อยละ 7  This study was survey of 319 second year students, second semester of academic year 1999, Faculty of Education, Burapha University, about attitudes toward computer. And compare attitudes between student who registered for Computer in Education course and who did not. The comparison did on the first week of the course and the last week of semester. And compare attitude of student who registered the course between the first week and last week of the semester.  The questionnaire used in this surveys were: Computer Attitude Questionnaire (CAQ ver. 3.1) The questionnaires were developed by Christensen and Knezek, Texas center for Educational Technology, University of North Texas, Denton, Texas. The Questionnaires were translated into Thai by researcher and were validate for the content and used of Thai language by two Professors at Burapha University. The questionnaires was 84 items consisted of 1). 5-point Likert-type to measure attitudes in 7 areas 2). Three paired comparison, Kay’s semantic to measure ‘preference for’, ‘difficulty of’, and ‘learn most from’ of four activities: read a book, write, watch television and use a computer. 3). Questions about having computer and using internet at home. The statistics used in analyzing the data were percentage, mean, standard deviation, and t-test. The data were collected in November 1999 and February 2000. The surveys did in 7 areas result were found as following: student had good attitudes in computer important, computer enjoyment, motivation/persistence, study habits, creative tendency, less anxiety and moderate attitude in using e-mail. Compare student attitudes between who took a Computer in Education course and who didn’t at the first week of semester found significant difference at .001 in study habit and found significant different at .05 in motivation. The comparison at the last week of semester found significant different at .05 in study habit. The comparison of student who took the course, between the first week and the last week of semester found no significant different in any areas. From paired comparison questionnaires found that most students agreed that using computer was most difficult but they have learned most from using computer. There are only 26% have computer and 7% using internet at home.

Downloads

Published

2024-03-29