เอกลักษณ์บางอย่างของภาษาไทย

Authors

  • กระแสร์ มาลยาภรณ์

Keywords:

ภาษาไทย

Abstract

เมื่อพูดถึง “เอกลักษณ์” ผู้ฟังก็พาลจะเข้าใจไปว่า คือลักษณะเป็นเอก ผู้เขียนเห็นว่าจะถืออย่างนั้นก็ถูก แต่ก็จะต้องต่อไปด้วยว่า คงจะมี “โทลักษณ์” “ตรีลักษณ์” ฯลฯ ด้วย เขาเรียนวิชานั้นเป็นวิชาโทวิชาตรี ฯลฯ แต่เราเรียน เป็นวิชาเอก เราจึงควรจะ “แน่” กว่าเพื่อน ๆ ด้วย ถ้าผู้อ่านเข้าใจคำว่า “เอกลักษณ์” ตามความหมายที่ผู้เขียนว่ามาแล้วนี้ ก็เป็นอันว่าเรา คือผู้อ่านและผู้เขียนคงจะไปกันด้วยดี  “เอกลักษณ์ของภาษา” นั้น ฟังแล้วก็รู้สึกแปร่งหูนิด ๆ แต่ยังดีที่เป็นแค่ เอกลักษณ์ uniqueness หาใช่ “อัจฉริยลักษณ์ทางภาษา” “genius of the language” อย่างที่เคยใช้กันมาแต่ก่อนไม่ ความหมายของคำว่า “อัจฉริยะ” และ “เอก” นั้น จะใกล้กันแค่ไหนผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึง หากเป็นแต่เพียงว่ารู้สึกขนลุกแปลก ๆ ดี ภาษาก็มีอัจฉริยะ ถ้ากระนั้นก็อาจจะมี “โง่เง่า เต่าตุ่น idiot” อยู่เหมือนกันก็ได้ถึงอย่างนั้น ๆ ภาษาแต่ละภาษานั้นส่วนใหญ่ต้องเป็น “เสียงเงียบส่วนใหญ่” คือธรรมดา ๆ เหมือน ๆ กันและถ้าใครยังติดใจ คำว่า “อัจฉริยะ” อยู่ ก็เอาเป็นอันว่าก็เหมือน ๆ กับ “เอกลักษณ์” นั่นเองจะได้ “ไปด้วยกันได้” เช่นเคย

Downloads

Published

2024-04-02