จากรามเกียรติ์...สู่การประเมินตอนที่ 2

Authors

  • เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์

Keywords:

รามเกียรติ์ – ประวัติและวิจารณ์, การบริหารงานบุคคล, การประเมินผลงาน

Abstract

ความเดิม : จากรามเกียรติสู่การประเมิน ประกอบด้วยเอกสารสองตอน ตอนแรกคือ รามเกียรติ์ : แหล่งทรัพยากรเพื่อการบริหาร เป็นการนำภูมิปัญญาในวรรณคดีไทยมาเป็นแนวคิดในการบริหาร ได้เริ่มลงในวารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 1 ปีที่ 11 ในฉบับนี้ เป็นตอนที่สอง คือ แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินต่าง ๆ และอาจนำไปใช้ในการประเมิน เพื่อการประกันคุณภาพทางการศึกษาได้  ในการประเมินหลักสูตรหรือประเมินโครงการต่าง ๆ นั้น โดยมากจะอาศัยตัวแบบ (model) ต่าง ๆ เพื่อการประเมิน เช่น ตัวแบบเป้าหมายเป็นฐาน (Goal Based Model) ตามแนวคิดของไทเลอร์ (Tyler 1949) โพรวัส (Provus 1971) ตัวแบบตอบสนอง (Responsive Model) ตามแนวคิดของ สคริพเวน (Seriven 1973) สเตค (Stake 1975) ตัวแบบของผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship Model) ตามแนวคิดของไอสเนอร์ (Eisner 1979) ตัวแบบการตัดสินใน (Decision Making Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีมและคณะ (Stufflebam and other 1971) ที่เรียกว่า ตัวแบบซิบ (Cipp Model) แนวคิดของอัลคิน (Alkin 1972) ที่เรียกว่า ตัวแบบซีเอสอี้ (CSE Model) ซึ่ง CSE มาจาก คำว่า Center for the Study of Evaluation ตัวแบบดังกล่าวมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย กูบาและลิน คอล์น (Guba and Lincoln 1989) ได้เสนอทางเลือกใหม่ของการประเมินในหนังสือชื่อ Fourth Generation Evaluation (การประเมินในยุคที่สี่)

Downloads

Published

2024-04-02