การใช้คอมพิวเตอร์ในการวัดและประเมินผลการศึกษา

Authors

  • เสรี ชัดแช้ม

Keywords:

การประเมินผลทางการศึกษา - การใช้เครื่องจักรกล, คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน

Abstract

ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์ในวงการต่างๆ อย่างกว้างขวางและหลากหลาย เช่น การประมวลผลคำในสำนักงาน การเล่นดนตรี การสร้างแสงสีเสียงเพื่อใช้กับการถ่ายทำภาพยนตร์ โรงเรียนได้นำคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการลงทะเบียนเรียน ส่วนผู้สอนได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้กับกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อสอบ การใช้คอมพิวเตอร์กำหนดเกรดรายวิชา เป็นต้น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียนมีข้อ ควรพิจารณาสำคัญๆ 2 ประการ ได้แก่ 1. ธรรมชาติของกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน มีความหลากหลายและสลับซับซ้อน ทำให้ยากลำบากในการนำคอมพิวเตอร์ มาช่วยทำงาน อย่างไรก็ตาม โรงเรียนสามารถพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้กับกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้หลายอย่าง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เปรียบเทียบค่าสถิติต่างๆ การใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบความถูกต้องในการสะกดคำ เป็นต้น ขณะนี้มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างประธานกับกริยาในประโยคภาษา อังกฤษ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) คือ การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เหมือนมนุษย์มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องกระบวนการทางปัญญา เช่น การเรียนรู้ การคิดหา เหตุผล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์โดยลำพังไม่สามารถที่จะตอบโต้กับเหตุการณ์ที่ไม่ได้ระบุไว้ในโปรแกรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งถือว่าเป็น โชคดีของมนุษย์ ทำให้มนุษย์ยังคงเป็นนายของคอมพิวเตอร์ สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ตนเองต้องการได้  2. เหตุการณ์ในชั้นเรียนหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า หรือเป็นเหตุการณ์ที่ยังเข้าใจไม่แจ่มแจ้งนัก เช่น ไม่สามารถยืนยันได้แน่นอนว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้น เกิดมาจากการเรียนรู้เท่าใด เกิดมาจากการสอบเท่าใด หรือไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า ผู้สอนต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีกเท่าใด จึงจะทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนถึงคอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาข้อสอบขึ้นมาใหม่ ยังคงระดับที่ต้องการได้ ดังนั้น การพัฒนาโปรแกรม มีข้อจำกัดอยู่บ้าง ส่วนเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในชั้นเรียน จึงค่อนข้างยุ่งยาก ช่วยในการปรับปรุงข้อสอบเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น และพัฒนาได้ช้า

Downloads

Published

2024-04-03