ความขัดแย้ง : ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของหน่วยงานที่ต้องได้รับการแก้ไข

Authors

  • ประชุม รอดประเสริฐ

Keywords:

การแก้ปัญหา, การจัดการ, การจัดการในภาวะวิกฤต, การบริหารความขัดแย้ง

Abstract

ความขัดแย้งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในหน่วยงานหรือในองค์การทุกประเภท ทุกขนาด และทุกระดับชั้น เช่น ความขัดแย้งระหว่างประเทศความขัดแย้งภายในหน่วยงาน หรือความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์การ เป็นต้น เป็นแต่เพียงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไปตามเหตุการณ์และสภาพของความขัดแย้งนั้น กล่าวคือความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความขัดแย้งระหว่างองค์การ หรือความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน ย่อมมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และรุนแรงมากกว่าความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคล หรือระหว่างบุคคล อย่างไรก็ดีเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในองค์การใด ผู้นำหรือผู้มีอำนาจเกี่ยวข้องจะต้องพยายามแก้ไขความขัดแย้งนั้นให้หมดสิ้นโดยเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การนั้นอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ความขัดแย้ง (Conflict) หมายถึงความเป็นฝ่ายตรงกันข้าม หรือความเป็นปรปักษ์ต่อกันระหว่างบุคคลหรือคณะบุคคลสองฝ่ายความเป็นปรปักษ์ต่อกันอาจเกิดจากหลายสาเหตุ (เช่น เกิดจากความคิดเห็นไม่เหมือนกัน ความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน หรืออาจเกิดจากการยุยง แทรกแซงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่สามเป็นต้น อย่างไรก็ดีเมื่อวิเคราะห์ความขัดแย้งตามแหล่งที่มาพบว่าความขัดแย้งเกิดจากกรณีดังต่อไปนี้ ความจำกัดของสิ่งตอบแทน ความไม่ชัดเจนของบทบาทหน้าที่ ความเป็นอาณาจักร ความยึดมั่นถือมั่น ความกลัว ความอึดอัดสิ้นหวัง ความชำนาญเฉพาะของแผนกงานและการต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถแยกวิเคราะห์ เป็นรายกรณีและหาแนวทางการแก้ไขได้ ดังนี้ ความจำกัดของสิ่งตอบแทน (Limited reward) เนื่องจากความต้องการของบุคคลมีมากและหลายรูปแบบทั้งที่เป็นวัตถุสิ่งของและที่เป็นขวัญกำลังใจ แต่ทุกองค์การหรือหน่วยงานมักจะมีผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนที่ บุคคลพึงได้รับในจำนวนที่จำกัด ฉะนั้นบุคคลทั้งหลายในหน่วยงานจึงต้องแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์เหล่านั้น กอปรกับการแบ่งปันผลประโยชน์อาจขาดความเป็นธรรมหรือไม่สามารถแบ่งปันกันได้อย่างมีความยุติธรรมและทั่วถึง การแข่งขันกันเพื่อผลประโยชน์สิ่งตอบแทน และการได้รับผลประโยชน์สิ่งตอบแทนอย่างไม่เป็นธรรม จึงก่อให้เกิดการขัดแย้งระหว่างบุคคล หรือระหว่างองค์การเสมอ ดังเช่น การให้ความดีความชอบพิเศษแก่ข้าราชการในระบบราชการของไทย ซึ่งจะมีผู้ได้รับเพียงประมาณร้อยละ 15 ของข้าราชการทั้งหมด เพราะความ จำกัดของงบประมาณแผ่นดิน ดังนั้นจึงเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ให้การพิจารณา ผู้ได้รับ และผู้ไม่ได้รับทุกปี เป็นต้น

Downloads

Published

2024-04-03