การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษา

Authors

  • มนตรี แย้มกสิกร

Keywords:

ครรภ์, นักศึกษา – พฤติกรรมทางเพศ, เพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส

Abstract

สภาพสังคมของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาจัดได้ว่าเป็นสังคมที่มีความสลับซับซ้อนของปัญหา เพราะนิสิตนักศึกษาเป็นวัยที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของนิสิต ระยะวัยรุ่นเป็นระยะที่เรียนรู้และพัฒนาความ สามารถในการควบคุมตนเอง การพึ่งพาตนเองเพื่อเป็นผู้ใหญ่ ชอบคลุกคลีกับหมู่เพื่อน ชอบที่จะปรึกษาเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ มีความลับไม่อยากเปิดเผยให้พ่อแม่ทราบ เริ่มมีเพื่อนต่างเพศ (สุรางค์ เลิศคชาธาร. 2541) และเริ่มมีความรักแบบหนุ่มสาว แต่โดยความมุ่งหมายของการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้คาดหวังว่าหน้าที่ของนิสิตนักศึกษาจะต้องมุ่งพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถทั้งวิชาชีพและวิชาชีวิต เกษม, วัฒนชัย, 2537) วิชาชีพหมายถึง องค์ความรู้ที่นิสิตนักศึกษาเรียนรู้เพื่อที่จะได้นำไปเป็นหลักในการประกอบสัมมาชีพในอนาคต ส่วนวิชาชีวิตเป็นการเรียนรู้เพื่อการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข เหมาะสมกับสถานภาพและบทบาทของตนเอง ในส่วนของวิชาชีวิตเป็นส่วนที่ไม่มีจัดการเรียนการสอน แต่เป็นการจัดบรรยากาศให้เอื้ออำนวยและส่งเสริมการเรียนรู้วิชาชีวิตหรืออาจกล่าวได้ว่า (เป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socializalion) นั่นเอง  ภายใต้สภาพสังคมในหมู่นิสิตนักศึกษา อันเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ซึ่งช่วยทำให้นิสิตนักศึกษาที่ดีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนอาจารย์และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดปฏิกริยาและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษาต่างเพศคือ แรงขับทางเพศอันเป็นธรรมชาติของผู้ที่อยู่ในระยะวัยรุ่น และประการสำคัญ คือ กระแสโลกาภิวัตน์ที่ทำให้วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อวัยรุ่นไทย อันเป็นวัยของหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ นอกจากนั้น อิทธิพลของตัวแบบจากสื่อมวลชน ซึ่งมาในรูปของโทรทัศน์ ภาพยนตร์ นิตยสารและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ล้วนเป็นภาพยั่วยุทำให้เกิดกามารมณ์ ขณะที่ร่างกายและจิตใจของนิสิตนักศึกษากำลังมีความพร้อมที่จะรับแรงกระตุ้นดังกล่าวอย่างเต็มที่ และประกอบกับธรรมชาติของนิสิตนักศึกษาเป็นวัยที่เริ่มสนใจเพศตรงข้าม ความอยากรู้อยากเห็นและอยากทดลอง หากนิสิตนักศึกษาขาดความรู้ความสนใจในเรื่องเพศอย่างถูกต้อง มีค่านิยมและความเชื่อในมาตรฐานซ้อน (Double Standard) ทางเพศโอกาสที่จะเกิดมีเพศสัมพันธ์อันนำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ย่อมมีได้มากขึ้น แม้ว่าตัวเลขที่จะยืนยันว่ามีปริมาณการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษา จะไม่มีอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่จากสถิติของโรงพยาบาลศิริราชในปี 2532 มีผู้มาขอรับคำปรึกษาใน เรื่องการตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาจำนวน 314 ราย ในจำนวนนี้เป็นหญิงวัยรุ่นถึงร้อยละ 83.7 (กรมอนามัย, 2533 : 81) จากงานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาสำรวจพบว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาหญิงเคยมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส (Delora, Warren and Elison. 1981 : 306 criting Hunt. 1974 : 1693 119) และยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นพบว่าในปี 1929 และ 1965 นักศึกษาหญิงมีประสบการณ์ทางเพศสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน กล่าวคือมีนักศึกษาหญิงร้อยละ 11-20 มีประสบการณ์ทางเพศ (Delora, Warren and Ellison. 1981 : 306 – 307 citing Cannon. 1971) ในช่วงทศวรรษ 1960 พฤติกรรมทางเพศเริ่มเปลี่ยนแปลงคือปี 1969 – 1970 พบว่ามีนักศึกษาหญิงมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 37-56 และในช่วงทศวรรษ 1970 พบว่ามีนักศึกษาหญิงมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 70 – 85 (Delora, Warren and Ellison. 1981 : citing Hopkins. 1977)

Downloads

Published

2024-04-03