การศึกษาผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการที่มีต่อความเข้าใจในการอ่าน ความสามารถในการเล่าเรื่อง และความสนใจในการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีความสามารถในการอ่านภาษาไทยต่างกัน

A Study of Effects of Reading Workshop Instructional Process on Reading Comprehension, Story Retelling, and Reading Interest of Elementary School Students with Different Abilities in Thai Language Reading

Authors

  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์

Keywords:

ภาษาไทย - การอ่าน, โรงเรียนประถมศึกษา – นักเรียน

Abstract

การอ่านเป็นการติดตามความรู้ ข้อมูลข่าวสารในด้านต่าง ๆ และเป็นทักษะสำคัญในการเรียนของนักเรียนในทุกระดับ กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านเป็นอย่างมาก จึงกำหนดให้สอนทักษะการอ่านในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2533) ได้กำหนดจุดประสงค์ในกลุ่มทักษะภาษาไทยว่า มุ่งให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน  และเขียนตามควรแก่วัย เห็นคุณค่าของภาษาสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิดและความเข้าใจ รักการอ่านแสวงหาความรู้ และมีเหตุผล การส่งเสริมให้นักเรียนมีความสนใจในการอ่าน รักการอ่าน เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญอีกประการหนึ่งของหลักสูตรและของประเทศ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้หอสมุดแห่งชาติเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ส่งเสริมให้เยาวชนสนใจการอ่านส่งเสริมให้โรงเรียนจัดกิจกรรมปลูกฝังให้นักเรียนมีความสนใจในการอ่าน ซึ่งหอสมุดแห่งชาติได้ร่วมกับองค์การยูเนสโกจัดการสัมมนาระดับชาติเพื่อพัฒนาการอ่าน ปลูกฝังให้เยาวชนสนใจการอ่านขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2528 (กรมวิชาการ, 2529) และได้จัดการสัมมนาระดับชาติอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2537 (หอสมุดแห่งชาติ, 2537) โดยได้เสนอแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องเรียน โรงเรียน และห้องสมุด และส่งเสริมการสอนนอกโรงเรียน รวมทั้งส่งเสริมการอ่านแก่ผู้ด้อยโอกาสด้วย  จากการศึกษาสภาพการสอนอ่านและการส่งเสริมความสนใจในการอ่านนั้นพบว่า ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ความสามารถของนักเรียนในด้านความเข้าใจในการอ่านยังอยู่ที่ระดับต้องปรับปรุงแก้ไข และนักเรียนยังมีความสนใจในการอ่านค่อนข้างน้อย กระบวนการสอนอ่านแบบปฏิบัติการเป็นกระบวนการสอนอ่านที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกหนังสือตามความสนใจมาอ่านเอง ได้เล่าเรื่อง รวมทั้งได้อภิปรายเกี่ยวกับหนังสือที่อ่าน จากการศึกษาวิจัยพบว่าการได้เลือกหนังสือมาอ่านด้วนตนเองเป็นการส่งเสริมให้เกิดความสนใจในการอ่านวิธีหนึ่ง และการเล่าเรื่องเป็นวิธีการพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนได้วิธีหนึ่ง ดังนั้นจึงได้นำกระบวนการสอนนี้มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการอ่านต่อไป

Downloads

Published

2024-04-04