การพัฒนาความสามารถในการจับใจความของเด็กวัยอนุบาลโดยใช้เทคนิคการเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ำ

Authors

  • อลิสา เพ็ชรรัตน์

Keywords:

เด็กปฐมวัย, การเล่านิทาน, การพัฒนการ, การจับใจความ

Abstract

ภาษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะภาษาช่วยทำให้มนุษย์ สามารถสื่อความหมายและเข้าใจผู้อื่นได้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง พยายามเข้าใจผู้อื่นและต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจตนเอง เด็กจึงเกิดการเรียนรู้ในการใช้ภาษาสื่อความหมาย เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการทางภาษาก้าวหน้าไปเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจความหมาย (บุษบง ตันติวงศ์, 2536)  ตั้งแต่คริสตศักราช 1930 เป็นต้นมาการเรียนการสอนภาษาสำหรับเด็กอนุบาลจะมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมทางภาษา การสอนภาษาจะสอนแยกเป็นทักษะ และถือว่าสิ่งที่เด็กเรียนรู้ก่อนการสอนอย่างเป็นทางการเป็นสิ่งที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการสอนได้ การวัดผลการเรียนจะเน้นการวัดทักษะความพร้อมเป็นระยะ ๆ ในเนื้อหาที่เด็กได้เรียนอย่างเป็นทางการ (Teale & Sulzby, 1987) ต่อมาในคริสตศักราช 1960 นักการศึกษาเริ่มมีความเห็นขัดแย้งกับการสอนภาษาแบบมุ่งเตรียมความพร้อม เดอร์คิน (Durkin, 1966) ได้ทำการวิจัยพบว่า เด็กมีโอกาสเรียนรู้ภาษาก่อนเข้าโรงเรียนโดยการที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟังตามธรรมชาติไม่ได้สอนภาษาเด็กอย่างเป็นทางการ เทเลอร์ และมอร์โรว์ (Taylor, 1983; Morrow, 1989) ก็พบว่าเด็กที่มีประสบการณ์ที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟังประจำจะสามารถอ่านหนังสือได้เอง ข้อค้นพบดังกล่าวข้างต้นนี้ทำให้เกิดแนวคิดว่าเด็กเรียนรู้ภาษาเขียนได้เองโดยธรรมชาติเช่นเดียวกับที่เด็กทารกเรียนพูดภาษา เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรง ได้แสดงออกโดยไม่กลัวผิด และได้แบบอย่างที่ดีของผู้ใหญ่ในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

Downloads

Published

2024-04-04