การศึกษากับค่านิยมในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2525 - 2394) ภาพสะท้อนจากวรรณคดีร่วมสมัย

Authors

  • สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์

Keywords:

การศึกษากับสังคม, ค่านิยมสังคม – ไทย, วรรณคดีกับสังคม - ไทย

Abstract

การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง อันเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงระดับการพัฒนาของสังคมอัตราการไม่รู้หนังสือของคนในสังคมเป็นดัชนีสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความมีคุณภาพของคนในสังคมนั้น ทุกสังคมจึงต้องมีการจัดการศึกษา ให้แก่คนในสังคมของตน เพื่อให้คนได้รับการพัฒนาตนเองในขั้นต้นก่อนแล้วจึงพัฒนาสังคมต่อไป คงไม่มีใครปฏิเสธความสำคัญของการศึกษาดังกล่าวมานี้ เมื่อพิจารณาย้อนไปในอดีต ความสำคัญของการศึกษายิ่งปรากฏให้เห็นเด่นชัด กล่าวได้ว่าเป็นค่านิยมของคนในสังคมไทยที่ต้องการให้ลูกหลานได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน เพื่อจะได้มีโอกาสก้าวหน้าในสังคม นั่นคือ ได้รับราชการได้ มียศมีตำแหน่ง ซึ่งต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนในขั้นต้นไปก่อน จึงจะมีโอกาสดังกล่าวนี้ดังสำนวนไทยที่ว่า สิบค้าพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง หรือได้เป็นเจ้าคนนายคน เป็นต้น

Downloads

Published

2024-04-04