การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนและขีดความสามารถการทำงานทางกายในชายหนุ่มภายหลังการฝึกออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์

Authors

  • ประทุม ม่วงมี
  • เอนก สูตรมงคล
  • บุญมา ไทยก้าว

Keywords:

สมรรถภาพทางกาย, การออกกำลังกาย, การฝึกแบบหมุนเวียน, สุขภาพ

Abstract

ได้มีการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนและขีดความสามารถการทำงานทางกายในชายหนุ่มภายหลังการฝึกออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผู้รับการทดลองซึ่งได้มาโดยวิธีอาสาสมัครเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 8 คน มีค่าเฉลี่ยของอายุ 19.6 ปี ส่วนสูง 171 ซ.ม. และน้ำหนัก 54.5 ก.ก. กลุ่มผู้รับการทดลองเป็นผู้ที่ เมื่อพิจารณาด้วยสายตาแล้วจัดว่ามีสัดส่วนปกติ (ไม่อ้วน) และไม่มีโรคภัยไข้เจ็บประจำตัว ก่อนการฝึกได้มีการ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับอัตราชีพจรขณะพัก ปริมาณเนื้อเยื่อไขมันในร่างกาย (โดยวิธีการวัดความหนาของผิวหนังพับ) แรงบีบมือ แรงเหยียดขา แรงเหยียดหลัง พลังของกล้ามเนื้อขา (โดยใช้ Magaria-Kalamen Power Test) และ ความสามารถสูงสุดของร่างกายในการนำออกซิเจนไปใช้ (โดยใช้ Physical Work Capacity-Ramp Test) จากนั้น ให้ผู้รับการทดลองฝึกออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยโปรแกรมการฝึกนั้นฝึกสัปดาห์ละ 3 วัน ส่วนใหญ่ มีการฝึกวันจันทร์ พุธ และพฤหัส ระหว่างเวลา 16.30-17.00 น. การฝึกในวันจันทร์ ฝึกที่ห้องฝึกและบริหารร่างกาย ของภาควิชา ซึ่งเป็นการฝึกที่เน้นให้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทํางานแบบแอนแอโรบิก และส่วนที่ เป็นงานประเภทแอโรบิกนั้นให้กระทำโดยการขี่จักรยาน ทุกวันพุธเป็นการฝึกที่เป็นแบบแอโรบิกด้วยการให้เต้นแอโรบิกนำโดยผู้นำแอโรบิกที่มีประสบการณ์สูง และในวันพฤหัสบดี (บางสัปดาห์บางคนเป็นวันศุกร์) ผู้รับการทดลองออกกำลังกายบน “เส้นทางเพื่อสุขภาพ” ภายในสวนนันทนาการของมหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้การ ควบคุมดูแลของคณะผู้วิจัย โดยเส้นทางเพื่อสุขภาพดังกล่าวนี้เป็นทางวิ่งรอบสระน้ำธรรมชาติ มีสถานีสำหรับหยุด ออกกำลังกาย 14 สถานี กระจายไปในระยะทางโดยรอบ 1,355 เมตร เมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 3 ของการฝึกได้มีการ เก็บข้อมูลทั้งหมดที่ได้เก็บไว้ก่อนเข้าสู่โปรแกรมการฝึกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากการทดสอบครั้งแรก กับครั้งหลัง พบว่า อัตราชีพจรขณะพักของผู้รับการทดลองลดลง 9 ครั้ง/นาที (79 V.S. 70) น้ำหนักเฉลี่ย เปลี่ยนจาก 54.5 ก.ก. เป็น 54.7 ก.ก.ปริมาณเนื้อเยื่อไขมันเปลี่ยนจาก 9.9% (ของน้ำหนักร่างกาย) เป็น 9.5% ค่าเฉลี่ยแรงบีบมือเปลี่ยนจาก 47.0 ก.ก. เป็น 48.0 ก.ก. ค่าเฉลี่ยแรงเหยียดขาเพิ่มขึ้น 25.8 ก.ก. (129.87  V.S. 158.75) ในขณะที่แรงเหยียดหลังมีค่าเพิ่มขึ้น 12.5% (103.7 ก.ก. V.S. 116.7 ก.ก.) พลังของกล้ามเนื้อขาเพิ่มจาก 115.0 Kgm/sec. เป็น 122.7 kgm/sec. และสุดท้ายค่าเฉลี่ยความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ (VO2 max.) เพิ่มจาก 46.6 เป็น 51.4 ม.ล./ก.ก./นาที ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายที่คณะ ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมิได้มีผลทำให้ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและแขน ตลอดจนปริมาณเนื้อเยื่อไขมันในร่างกายในกลุ่มผู้รับการทดลองกลุ่มนี้เปลี่ยนแปลงไปมากนักแต่ในตัวแปรอื่น ๆ ที่วัดนั้น ได้ค่าที่แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมดังกล่าวมีผลในทางบวกต่อร่างกายกล่าวคือ อัตราชีพจรขณะพักลดลง 9 ครั้ง นาที กำลังของกล้ามเนื้อหลังและขาเพิ่มขึ้น 12.5% และ 22.2% ตามลำดับ พลังหรือแรงระเบิดของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น 6.4% และความสามารถสูงสุดในการนําออกซิเจนไปใช้เพิ่มขึ้น 10.2% จึงอาจสรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายที่คณะผู้วิจัยได้สร้างขึ้นไม่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนของร่างกายในชายหนุ่มกลุ่มดังกล่าว (พิจารณาจาก ส่วนสูง - น้ำหนัก - ปริมาณเนื้อเยื่อไขมันในร่างกาย) แต่ทำให้ตัวแปรอื่น ๆ ทั้งทางแอนแอโรบิกหลายตัวแปร และแอโรบิกที่ทำการวัดมีค่าดีขึ้น ระหว่าง 6.4-22.2% และอัตราชีพจรขณะพักลดลง 9 ครั้ง/นาที ซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นของระบบการขนส่งออกซิเจน

Downloads

Published

2024-04-05