https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/issue/feed วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2024-01-09T02:26:17+00:00 edu journal.Libbuu@gmail.com Open Journal Systems https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/8993 แนวทางการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน 2024-01-09T01:42:18+00:00 สิริลักษณ์ มณีรัตน์ journalLibbuu@gmail.com ภริมา วินิธาสถิตย์กุล journalLibbuu@gmail.com ทรรศนัย โกวิทยากร journalLibbuu@gmail.com <p>การพัฒนาระบบการศึกษาอย่างยั่งยืนของไทย อยู่ภายใต้คำว่า “เสมอภาคและเท่าเทียม” ทำให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับโอกาสทางการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กปกติทั่วไป บทความวิชาการนี้นำเสนอความรู้ที่นำไปสู่แนวทางการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ 1) ความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความต้องการการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่อาศัยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยให้ประสาทการรับรู้ทางการ ได้ยินดีขึ้น และกลุ่มที่มีความต้องการการเรียนรู้ขั้นสูงจะต้องอาศัยทั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ และการใช้ภาษามือในการช่วยสื่อสาร และต้องการการศึกษาพิเศษ 2) การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินของไทย ได้แก่ การจัดการศึกษาแบบเน้นการฟังเป็นฐาน และการเรียนการสอนแบบเน้นการใช้สายตาเป็นฐาน และ 3) กระบวนการสร้างสรรค์เทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เป็นการนำสื่อต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการนำมาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มที่มีความต้องการการเรียนรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับภาษามือเพื่อการสื่อสารอีกด้วย&nbsp; The sustainable development of the education system in Thailand is under the words “equal and equitable” because of the educational opportunity of children with special needs. The authors of this academic article would like to present the knowledge that leads to the guidelines for strengthening the learning skills of children with hearing impairments such as 1) The learning efficiency of children with hearing impairments is to devided in to 2 groups: the group of with basic education who need the medical equipment to increase their hearing, and the group of people with higher education who need medical equipment, communication with sign language, and special education. 2) children with hearing impairments education management in Thailand, such as the education based on audience and learning by visual and 3) inventive educational technology process for learning of children with hearing impairments by using the various media as tools and equipment in learning management for efficiency in learning skills in higher education groups about communication with sign language.</p> 2024-01-09T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/8994 การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนสู่การเรียนรู้ ในวิถีใหม่ (New Normal) สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 2024-01-09T01:52:40+00:00 ณาตยา สิงห์สุตีน journalLibbuu@gmail.com เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพ โมบายแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ทางด้านการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้โมบายแอปพลิเคชัน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์) สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต1 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากหมู่เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาจีน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการสื่อสารภาษาจีน และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (average) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) ผลวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของแอปพลิเคชัน ประกอบด้วย หน้าต้อนรับ หน้าหลักประกอบด้วยเมนูบทเรียนที่มีทั้งรูปภาพและเสียงภาษาจีน บทเรียนประกอบด้วย เมนูคำศัพท์ บทสนทนา เรียนรู้ประโยค แบบฝึกหัด เกม และแบบทดสอบ มีค่าประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 78.43/83.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด&nbsp; The objectives of this research were 1) to develop a mobile application and find its efficiency in promoting students’ Chinese communication skills development based on the specific criteria of 75/75; 2) to compare the students’ learning achievements in Chinese communication skills development before and after using the mobile application; and 3) to survey students’ satisfactions towards the use of the mobile application .The research sample was the 30 sixth-grade students at Ban San Khong (Chiang Rai Jaroonrat) School, 1. The Sample Random Sampling Techniques were used to recruit the participants by means of drawing. Data were collected by means of a mobile application, a Chinese communication achievement test, and a satisfaction survey questionnaire. Data were analyzed for descriptive statistics such as percentage, mean (), and standard deviation (S.D.) The findings showed that: 1) The features of the mobile application onsists of welcoming page, front page, and lessons with pictures and Chinese audio. Each lesson has vocabulary lists, dialogues, sentences, exercises, games, and tests. the efficiency value (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) of the mobile application was at 78.43/83.50, which was higher than the specific criteria of 75/75, and 2) The post-test score of the students’ was higher than the pre-test score with a statistically significant difference at the level of .05, and 3) The overall score of the students’ satisfactions was at the highest level.</p> 2024-01-09T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/8995 ปัจจัยการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 2024-01-09T01:59:09+00:00 วิษณุ โชโต journalLibbuu@gmail.com จินตนา บุนนาค journalLibbuu@gmail.com สุภาภรณ์ บุญเจริญ journalLibbuu@gmail.com รัตนา คงสืบ journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เพื่อศึกษาปัจจัยการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมดในหน่วยงาน ได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ทั้ง 20 หน่วยงาน ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ปีการศึกษา&nbsp;2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยการปฏิบัติงานจำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 และแบบสอบถามประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จำนวน 5 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย&nbsp;(µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ơ) และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับปัจจัยการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (µ&nbsp;= 3.41,&nbsp;ơ&nbsp;= 0.18) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน (µ&nbsp;= 3.78,&nbsp;ơ&nbsp;= 0.38) และด้านทักษะการปฏิบัติงาน (µ&nbsp;= 3.56,&nbsp;ơ= 0.38) และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน คือ ด้านการติดต่อประสานงาน (µ&nbsp;= 3.49,&nbsp;ơ&nbsp;= 0.33) ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (µ&nbsp;= 3.37,&nbsp;ơ= 0.35) และด้านกิจกรรมในการพัฒนาการปฏิบัติงาน (µ&nbsp;= 2.83,&nbsp;ơ&nbsp;= 0.26) ตามลำดับ 2.ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก อยู่ในระดับมาก (µ&nbsp;= 4.17,&nbsp;ơ= 0.38) 3. ปัจจัยการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ทักษะการปฏิบัติงาน และการติดต่อประสานงาน โดยมีอำนาจการทำนายร้อยละ 47.9 (Adjust&nbsp;R<sup>2</sup> = 0.479) และสามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (Y) = 0.957 + 0.461(X2: แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน) +0.308(X1: ทักษะการปฏิบัติงาน) + 0.278 (X3: การติดต่อประสานงาน)&nbsp; This research was the survey research with objectives were to study the work factors affecting the performance efficiency of administrative officers in the Rajamangala University of Technology Tawan-Ok. The population of this research were administrative officers of 20 departments in Rajamangala University of Technology Tawan-Ok, academic year 2022, consisted of 123 administrative officers. The research instrument was a 5 rating scale questionnaire of work factors with 30 items at 0.90 level of reliability, and a questionnaire of the performance efficiency with 5 items at 0.89 level of reliability. Data were analyzed in terms of Mean (µ), Standard Deviation (ơ) and Stepwise Multiple Regression Analysis. The findings showed that: 1. The work factor of administrative officer in the Rajamangala University of Technology Tawan-Ok in overall was rated at a medium level (µ&nbsp;= 3.41,&nbsp;ơ=0.18). When considering each aspect were found 2 factors at a high level were, Work ethics (µ&nbsp;= 3.78,&nbsp;ơ= 0.38), and Working skills (µ&nbsp;= 3.56,&nbsp;ơ= 0.38), and found 3 factors at a medium level were, Liaison (µ&nbsp;= 3.49,&nbsp;ơ= 0.33), Performance motivation (µ&nbsp;= 3.37,&nbsp;ơ=&nbsp;0.35) and Performance development activities (µ&nbsp;= 2.83,&nbsp;ơ= 0.26) respectively. 2. The performance efficiency of administrative officer in the Rajamangala University of Technology Tawan-Ok was found at a high level (µ = 4.17, ơ = 0.38). 3. The work factors that were significant (p&lt;.01) affecting the performance efficiency of administrative officers in the Rajamangala University of Technology Tawan-Ok were performance motivation, working skills and liaison. The predictive power was 47.9 percent (Adjust&nbsp;R<sup>2</sup>&nbsp;= 0.479). The equation can be presented in raw scores: Performance efficiency (Y) = 0.957 + 0.461(X2: Performance motivation) + 0.308(X1: Working skills) + 0.278 (X3: Liaison)</p> 2024-01-09T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/8996 ผลของโปรแกรมความทนทานทางใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ 2024-01-09T02:08:06+00:00 ธนะดี สุริยะจันทร์หอม journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมความทนทานทางใจของนักเรียนระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น และ 2) เปรียบเทียบความทนทานทางใจก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมความทนทาน ทางใจสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) โปรแกรมความทนทานทางใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยนำทฤษฎีการตั้งเป้าหมาย แนวคิดการฝึกสติ ร่วมกับเทคนิคการสะท้อนตัวตน และเทคนิคการฟังอย่างตั้งใจมาใช้ในการสร้างโปรแกรม และ 2) แบบวัดความทนทานทางใจ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) โปรแกรมความทนทานทางใจ ประกอบด้วย 6 ครั้ง มีผลการประเมินอยู่ในระดับเหมาะสมมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.33, S.D. = 0.44) 2) ผลการใช้โปรแกรมความทนทานทางใจ พบว่า นักเรียนมีความทนทานทางใจหลังเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย = 3.40, S.D. = 0.67) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (ค่าเฉลี่ย = 2.59, S.D. = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05&nbsp; The purpose of this research 1) was to develop Mental Toughness Program of Lower Secondary School Student, and 2) to compare the level of mental Toughness Program of Lower Secondary School Student in The Secondary Education Service Area Office Chiang Mai before and after the trial. The sample group included 30 students from level M1, the sample group whom were obtained by using cluster random sampling method. The research instruments were 1) the Mental Toughness Program of Lower Secondary School Student by applying the Goal-Setting Theory, Mindfulness, Self-reflection techniques and Empathic Listening techniques were used to create the program. and 2) Mental Toughness Scale. Statistics used in the research which were Mean, Standard deviation, and t–test. The results of the study were as follows: 1) the Mental Toughness Program consisted 6 time, and was evaluated with high level scores (average&nbsp;= 4.33, S.D. = 0.44). 2) The results from the the Mental Toughness Program scores, as a result of completing the Mental Toughness Program&nbsp;(average&nbsp;= 2.59, S.D. = 0.31) were significantly higher than those before participants in Mental Toughness Program (average&nbsp;= 3.40, S.D. = 0.67), p&lt;0.05.</p> 2024-01-09T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/8997 การพัฒนาหลักสูตรสังคมศึกษาอิงวิสัยทัศน์สถานศึกษา 2024-01-09T02:11:22+00:00 ณัฐภัทร คล้ายสุวรรณ์ journalLibbuu@gmail.com อัญชลี ศรีกลชาญ journalLibbuu@gmail.com นาตยา ปิลันธนานนท์ journalLibbuu@gmail.com <p>วิสัยทัศน์ของสถานศึกษาเป็นการตกผลึกของความปรารถนาและมุ่งหวังของโรงเรียน ชุมชน และประเทศชาติ ทั้งยังเป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาที่นำมาใช้เป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทเฉพาะของผู้เรียน งานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาและประเมินผลหลักสูตรสังคมศึกษาอิงวิสัยทัศน์สถานศึกษาผ่านการลงมือปฏิบัติร่วมกันของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ โดยเริ่มจากการสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องกับคณะครู กำหนดวัตถุประสงค์ จุดเน้น สมรรถนะสำคัญ และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงจุดเน้นในวิสัยทัศน์สถานศึกษา ธรรมชาติและเป้าหมายของวิชาสังคมศึกษาในการพัฒนาพลเมือง มีการกำหนดโครงสร้างหลักสูตรและพัฒนารายวิชาพื้นฐาน จำนวน 28 รายวิชา โดยเริ่มจากการกำหนดประเด็น (Theme) ประจำรายวิชาที่ส่งเสริมการบูรณาการ สอดคล้องกับธรรมชาติรายวิชา คำนึงถึงบริบทของผู้เรียน จากนั้นพัฒนาคำอธิบายรายวิชาที่กระชับ เป็นเหตุเป็นผล สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ในวิชานั้น ๆ กำหนดชื่อวิชาที่สอดคล้องกับจุดเน้นและเป้าหมายรายวิชา แล้วนำหลักสูตรที่พัฒนาแล้วสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน เพื่อพิจารณาความสอดคล้องและเหมาะสมของหลักสูตร จากนั้นนำไปให้ผู้บริหารหลักสูตรสถานศึกษา จำนวน 10 ท่าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา โรงเรียนบางกะปิ จำนวน 25 ท่าน ประเมินผลความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของหลักสูตร ซึ่งผลการวิจัยพบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก&nbsp; School vision is the crystallization of the desires and hopes of a school, a community, and a nation. It is also the goal of the school to develop students, which can be based on curriculum development in line with the specific context of students. This research aims to develop and evaluate school vision based-social studies curriculum through the joint action of teachers in the social studies department at Bangkapi School. It starts with conveying the right concepts for teachers, then defining objectives, curriculum focus, school competencies, and learning outcomes in accordance with each other considering the focus of the school vision, as well as the nature and goals of the social studies course in terms of citizen development, to determine the structure of the curriculum and develop 28 courses, to set the theme for each course that promotes integration consistent with the nature of the course, taking into account the context of the learners, developing concise, rational course descriptions that reflect the learning outcomes that students will be developed in that course and define course names that are consistent with the focus and goals of the course. Then, the developed curriculum was sent to a focus group with 6 experts to consider the consistency and suitability of the curriculum. Then, the complete curriculum was brought to 10 school curriculum administrators and 25 promoters of education in Bangkapi School to evaluate the suitability and feasibility of the curriculum. The results indicated that the curriculum was appropriate at the highest level and that the curriculum had the possibility of being applied at a high level.</p> 2024-01-09T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/8998 การศึกษาเชิงคุณภาพผลกระทบและความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียน ผู้ปกครอง และครูโรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี 2024-01-09T02:21:06+00:00 อาทิตย์ แสนธิ journalLibbuu@gmail.com สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี journalLibbuu@gmail.com <p>การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบและค้นหาความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ในปีการศึกษา 2564 โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 56 คน ประกอบด้วยนักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน ครู 8 คน จากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียน 10 คน ผู้ปกครอง 10 คน และครู 8 คน จากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key information) แบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม จำนวน 6 ครั้ง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม QDA Miner lite โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เกิดผลกระทบดังนี้ (1) ด้านร่างกาย นักเรียนมีปัญหาด้านร่างกายจากการออกกำลังกายน้อยลง มีปัญหาด้านสายตา (2) ด้านจิตใจมีความเครียดจากรูปแบบการเรียนและความไม่พร้อมในด้านต่าง ๆ (3) ด้านการเรียน นักเรียนมีความยากลำบากในการเรียนรู้มากขึ้น มีสมาธิต่อการเรียนน้อยลง และผู้ปกครองมีสมาธิต่อการทำงาน้อยลง เพราะต้องดูแลนักเรียนมากขึ้น (4) ด้านการเงิน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และ (5) ด้านสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างทุกกลุ่มน้อยลง และผู้บังคับบัญชาไม่เข้าใจผู้ปกครองที่ต้องดูแลนักเรียนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ได้ค้นพบความคาดหวัง ดังนี้ (1) คาดหวังรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายของนักเรียน (2) คาดหวังให้มีเวลา อุปกรณ์ และความรู้ที่เพียงพอ เพื่อลดความเครียด (3) นักเรียนมีความคาดหวังต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ผู้ปกครองคาดหวังให้รูปแบบการทำงานสอดคล้องกับการเรียนของนักเรียน และครูคาดหวังที่จะพัฒนาตนเอง (4) ความคาดหวังด้านการเงิน ต้องการให้โรงเรียนและรัฐบาลสนับสนุนด้านอุปกรณ์ ค่าใช้จ่าย และการพัฒนาความรู้ และ (5) ความคาดหวังด้านสังคม มีปฏิสัมพันธ์เพิ่มขึ้นระหว่างนักเรียนและครู โดยผู้ปกครองและครูคาดหวังความเข้าใจจากครอบครัว และผู้บังคับบัญชา&nbsp; The researcher conducted a qualitative research study with the objective of studying the impact and expectations of online teaching and learning management under the epidemic situation of the Coronavirus Disease 2019 of students, parents, and teachers of Muang Mai Chonburi Kindergarten School, under Chonburi Provincial Administrative Organization in students, parents, and teachers of grade 3 and grade 6 levels. There are 56 Samples, consisting of 10 students, 10 parents, and 8 teachers from grade 3; 10 students, 10 parents, and 8 teachers from grade 6. The samples were chosen using Key Information and purposive sampling. The tool used was the group discussion questions. Data were collected by group discussion for 6 times and analyzed by QDA Miner Lite program. By content analysis, the results were showed as follows: (1) Physically, students had fewer physical problems from exercising. (2) Mentally, there were stress from learning and unpreparedness in various aspects (3) in terms of learning, students have more learning difficulties and less concentration on studying and parents had less concentration on work because they had to take care of students, (4) financially, there are increased expenses and (5) socially, there were fewer relationships between all groups. Supervisors did not understand parents who have to take care of students. The findings revealed the following expectations: (1) expecting an online teaching style that does not adversely affect the student physically; (2) expecting to have sufficient time, equipment, and knowledge. To reduce the stress (3) students have expectations for an effective teaching style. Parents expect their working to be consistent with the students' learning. and teachers expect to develop themselves in the progress (4) financial expectations; school and government must support the equipment, costs, and knowledge development; and (5) social expectations; increased interaction between students and teachers. Parents and teachers expect understanding from their families and supervisors.</p> 2024-01-09T00:00:00+00:00 Copyright (c) 2024