วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2
en-USวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา0125-3212วินัยเชิงบวกของเด็กปฐมวัยสู่การเรียนรู้บนฐานวิถีชีวิตใหม่
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/9839
<p>วินัยเชิงบวกของเด็กปฐมวัย ถือเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กปฐมวัยควรได้รับประสบการณ์ที่ดีจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ซึ่งพ่อแม่ ครู หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning ecosystem) ของเด็กปฐมวัยผ่านการใช้วินัยเชิงบวกโดยยึดหลัก คือ 1) กำหนดความคาดหวังเชิงพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก 2) เคารพและเข้าใจความแตกต่างของเด็ก 3) สื่อสารอย่างมีเหตุผล รับฟัง และเคารพความคิดเห็นของเด็ก 4) เป็นแบบอย่างที่ดีและเหมาะสม และ 5) สนับสนุนพฤติกรรมที่ดี และส่งเสริมศักยภาพของเด็ก การเกิดการเปลี่ยนแปลงอันนำไปสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่ ทำให้เด็กปฐมวัยเผชิญกับความท้าทายด้านการเรียนรู้ บวกกับการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยต้องปรับตัวตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยถือเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนในยุคของการเปลี่ยนแปลง ที่ควรเริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัยเพราะถือเป็นวัยที่มีพัฒนาการแห่งการเรียนรู้ที่รวดเร็วที่สุด อันจะส่งผลต่อการเสริมสร้างทักษะทั้ง 3 ด้าน คือ1) EQ (Emotional quotient): ความฉลาดทางอารมณ์ 2) SQ (Social quotient): ความฉลาดทางสังคม และ 3) MQ (Moral quotient): ความฉลาดทางศีลธรรม ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนส่งเสริมการเรียนรู้บนฐานวิถีชีวิตใหม่ และสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาทั่วโลก ที่มุ่งเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดทักษะชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข และเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคม The positive discipline of early childhood is important to promote children's learning for their readiness in physical, emotional, social, and intellectual aspects. Early childhood children should have good experiences with the environment around them. The parents, teachers, or related persons are part of contributing to promoting and supporting the learning ecosystem through the principles of positive discipline to 1) set behavioral expectations for children, 2) respect and understand children's differences, 3) communicate reasonably, listen and respect children's opinions, 4) be a good and appropriate role model and 5) support good behavior and promote children's potential. The emergence of changes leading to a new normal exposes early childhood to challenges in learning. Moreover, the use of media or technology is rising which affects children's learning needs to be adapted according to the circumstances that arise as well. Therefore, building a good relationship between children is fundamental to creating positive discipline. However, positive discipline should be encouraged from early childhood because it is considered the age with the fastest learning development. This affects the development of skills in 3 areas: 1) EQ (Emotional Quotient): Emotional intelligence, 2) SQ (Social Quotient): Social intelligence, and 3) MQ (Moral Quotient): Moral intelligence. All these skills promote learning in the new normal and are in line with the principles of education management around the world that focus on children's self-learning, life skills, ability to live happily with others, and growing up to be quality citizens of society.</p>นัฏฐ์ดนุช จรครบุรีธนาดุลทนง ทองภูเบศร์ชินวงศ์ ศรีงาม
Copyright (c) 2024
2024-05-282024-05-28351116ผลของการทำบันทึกเฝ้าดูอารมณ์ที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/9840
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย จำแนกตาม เพศ ชั้นปี และกลุ่มสาขาวิชา และเพื่อศึกษาผลของการทำบันทึกเฝ้าดูอารมณ์ที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาจิตวิทยากับชีวิตประจำวันและสมัครใจเข้าร่วมงานวิจัย จำนวน 595 คน การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามการตระหนักรู้ในตนเอง ฉบับออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการทำบันทึกเฝ้าดูอารมณ์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตระหนักรู้ในตนเองในระดับมาก ยกเว้น กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่มากกว่าชั้นปีที่ 4 ที่พบว่าตระหนักรู้ในตนเองในระดับปานกลาง ขณะที่หลังการทำบันทึกเฝ้าดูอารมณ์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยทุกกลุ่ม ตระหนักรู้ในตนเองในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่าหลังจากทำกิจกรรมบันทึกการเฝ้าดูอารมณ์ กลุ่มตัวอย่างตระหนักรู้ในตนเองเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 This research aims to study self-awareness among Chiang Mai University students. To explore their self-awareness in consideration of all samples and dividing into subgroups by their demographics including genders, years of study, and discipline groups. And, to study the effect of emotional reflection journaling on their self-awareness. The sample comprised 595 Chiang Mai University students who registered for psychology and daily life and volunteered to participate in the study. Data were collected using the online self-awareness questionnaire. The data were analyzed by means, standard deviation, and dependent t-test. The results indicated that before the intervention, the samples' self-awareness scores were high, except for samples in subgroups of the fourth year and higher which were medium self-awareness. After the emotional reflection journaling intervention, all samples' self-awareness scores were high, and their scores were higher significantly at .05</p>วีรวรรณ วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ธนพงศ์ อุทยารัตน์
Copyright (c) 2024
2024-05-282024-05-283511729การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง คำภาษาต่างประเทศ ในภาษาไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT กับวิธีการสอนแบบปกติ
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/9841
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT กับวิธีการสอนแบบปกติ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ด้วยวิธีการสอนแบบปกติทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 29 คน เป็นกลุ่มทดลอง ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 29 คน เป็นกลุ่มควบคุมที่ ได้รับสอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT สูงกว่านักเรียนที่ได้รับวิธีการสอนแบบปกติอย่างต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียน ที่ได้รับการสอนโดยด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องคำภาษา ต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียน ที่ได้รับวิธีการสอนแบบปกติ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>The purposes of the research were to 1) compare learning achievements on foreign language words in Thai of Mathayomsuksa 3 students at “Piboonbumpen” Demonstration School. Burapha University 2) compare the learning achievements on foreign words in Thai of Mathayomsuksa 3 students using the cooperative teaching method with TGT technique both before and after learning. Learn 3) compare learning achievement in foreign language words in Thai with normal teaching methods both before and after class the sample in this research consisted of was Mathayomsuksa 3 students in "Piboonbumpen" Demonstration School. Burapha University, semester 1, academic year 2022, number 2 classes, students in M.3/1 Class room were selected as experimental groups and were taught by the cooperative teaching method with the TGT technique. 29 students in M.3/2 class room the control group and were taught by a normal teaching method. The results showed that 1) the learning achievement in foreign language words in Thai of students who were taught by the cooperative teaching method with the TGT technique was higher than the students who were taught normally with statistically significant at the .05 level.2) the learning achievement in foreign language words in Thai of students that were taught by a cooperative teaching method with TGT was than higher before teaching with statistically significant at the .05 level. 3) the learning achievement in foreign language words in Thai of students that were taught normally was higher than before teaching with statistically significant at the .05 level.</p>ศศิวงศ์ พูลพิพัฒน์จีรสุดา เปลี่ยนสมัยพิมพ์สุพร สุนทรินทร์เกรียงไกร วิลามาศกันตา ไกรภักดี
Copyright (c) 2024
2024-05-282024-05-283513040การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางโดยการใช้ผังมโนทัศน์สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/9842
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการอ่านโดยใช้ผังมโนทัศน์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชา 415-321 การอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลาง โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์ จำนวน 4 แผน และบทอ่าน 4 เรื่อง 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางโดยใช้ผังมโนทัศน์ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนรู้การอ่านโดยใช้ผังมโนทัศน์ แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 17 ข้อการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย (average) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์ เท่ากับ 10.22 เปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์เท่ากับ 11.33 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้ผังมโนทัศน์เพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาญี่ปุ่นในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย =3.94, S.D.= 0.44) โดยข้อคิดเห็นที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมการอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้ผังมโนทัศน์เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกการอ่านด้วยตัวเองมากขึ้น กิจกรรมการอ่านโดยการใช้ผังมโนทัศน์ทำให้ผู้เรียนรู้ถึงประโยชน์ของการใช้ผังมโนทัศน์และการใช้ผังมโนทัศน์ทำให้ผู้เรียนวิเคราะห์และเข้าใจประเด็นต่าง ๆ ในเนื้อเรื่องได้อย่างชัดเจนขึ้น ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการอ่านโดยการใช้ผังมโนทัศน์ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นกลางของผู้เรียนได้ The purposes of this research were to: 1) compare the students’ abilities in Japanese Intermediate reading before and after using concept mapping activities, and 2) indicate students’ opinions toward the Japanese Intermediate reading using concept mapping activities. Purposive sampling was implemented to select 18 undergraduate students enrolled in course 415-321 Intermediate Japanese Reading. The instrument used in research consist of 1) four lesson plans of Japanese Intermediate reading by using concept mapping and four reading topics. 2) a reading proficiency test, used as a pretest and posttest which included 20 multiple choice concept mapping questions, and 3) a 17-item questionnaire on opinions toward the use of concept mapping to enhance Japanese Intermediate reading. The data were analyzed by (average), standard deviation (<em>S.D.</em>) and t-test dependent. The results of the study revealed that the average score in Japanese Intermediate reading before learning concept mapping was 10.22. In comparison, the average score in the subject after using concept mapping was 11.33. A statistic significant difference was at the level of 0.05. The most approved opinion was on Japanese reading by using concept mapping which gave students an opportunity to focus on improving reading skills on their own. Secondly, the sample group agreed that reading activities using concept mapping made learners aware of the benefits of concept mapping and allowed them to utilize it for analyzing and comprehending points made in topics relatively clearly. These pointed out that concept mapping effectively contributed to Japanese reading skills.</p>นิเย๊าะ จาหลง
Copyright (c) 2024
2024-05-282024-05-283514155การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/9843
<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้บอร์ดเกม ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 43 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 4) บอร์ดเกม เรื่อง ระบบนิเวศ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบอิสระ (t-test Independent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง ระบบนิเวศ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง ระบบนิเวศของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม สูงกว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 พึงพอใจต่อการใช้บอร์ดเกมประกอบการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง ระบบนิเวศ อยู่ในระดับมากที่สุด The purposes of this research were 1) to compare students’ learning achievement before and after by using the inquiry method (5E) with Board game. 2) to compare students’ learning achievement before and after by using the inquiry method (5E) together with the Board game and inquiry method (5E).3) to study the satisfaction by using board games as the teaching materials in biological science students in School. The sample of the classroom unit-based cluster random sampling consisted of a total of 43 persons. The research instruments consisted of lesson plans of 5E- Learning Cycle with Board game, lesson plans of 5E- Learning Cycle, Board game subject; “Ecosystem”, learning achievement test, and satisfaction questionnaire. The data were analyzed using mean, standard deviation (S.D.), and t-test dependent. The results showed that: 1) the students’ learning achievement by using inquiry method (5Es) with Board game in science subject; “Ecosystem”, as measured by pretest and posttest, was higher in all aspects at the statistically significant level of .05, 2) the students’ learning achievement by using inquiry method (5Es) with Board game in science subject; “Ecosystem”, was higher inquiry method (5E), 3) the satisfaction by using board games of students was reported in the highest level.</p>ปรียานุช ใจหาญภาสกร ภักดิ์ศรีแพง
Copyright (c) 2024
2024-05-282024-05-283515670การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/9844
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้และความคิดเห็นในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์2) แบบประเมินโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ 4) แบบสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า โครงงานที่ใช้ชุมชนเป็นฐานของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดี (µ=4.17, σ=0.33) นักศึกษามีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คะแนนเฉลี่ยโดยรวมในทุกด้านอยู่ในระดับดี (µ=4.50, σ=0.29) โดยมีนักศึกษาร้อยละ 52.38 มีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก และความคิดเห็นในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (µ=4.55, σ=0.25) The purposes of this research were to study the effects and the opinions of the community-based project learning model to promote 21st century learning skills among applied biology students. The target group consisted of 21 applied biology students, Rajabhat Rajanagarindra University. The research instruments included 1) the community-based project learning model plan to promote 21st century learning skills for applied biology students, Rajabhat Rajanagarindra University; 2) the community-based project assessment form; 3) the 21st century skills assessment form; and 4) the student opinion survey form on the community-based project learning model to promote 21st century learning skills. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The results found that the community-based project was good (µ=4.17, σ=0.33), the students’ 21st century learning skills were good (µ=4.50, σ=0.29), so 52.38% of students were very good, and the students’ opinions on the community-based project learning model to promote 21st century learning skills were very high (µ=4.55, σ=0.25)</p>นภกานด์ หน่ายคอนอภิรดี ศรีภิรมย์รักษ์นิชานันท์ อุดมศักดิ์สกุลพันธ์ทิพย์ โอฬารรัตน์มณี
Copyright (c) 2024
2024-05-282024-05-283517185