ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 17
Keywords:
ประสิทธิผลว โรงเรียนมัธยมศึกษา, จังหวัดจันทบุรีAbstract
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2561 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 274 คน จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โรงเรียนเป็นเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านการสื่อสาร กับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) สมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ในรูปสมการคะแนนดิบ ดังนี้ Yˆ = 0.667 + 0.365 (X3.3) + 0.334 (X3.2) + 0.141 (X2.3) หรือในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Zˆ = 0.384 (Z3.3) + 0.345 (Z3.2) + 0.152 (Z2.3) The objective of this research was to study factors leading to the effectiveness of secondary schools in Chanthaburi province under the Secondary Educational Service Area Office 17. The sample in this study was 274 government teachers working in academic year 2018 for secondary schools in Chantaburi under the Secondary Educational Service Area Office 17. This number was suggested according to Krejcie and Morgan’s table for sample size (1970). The sample was identified through the means of Simple Random Sampling technique as classified by the different sizes of school. The data collection instrument was a five-point rating-scale questionnaire. Statistics used for data collection included Mean (average) Standard Deviation (SD), Pearson’s product moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis. The findings of the study were as follows 1) The Factor concerning, transformational leadership, motivation, communication and the effectiveness of secondary schools in Chanthaburi under the Secondary Educational Service Area Office 17 were at a high level both in general and in each aspect. 2) The relationship between the effectiveness of schools and factors concerning transformational leadership, motivation, and communication was found to be high with statistical significance level of .01. 3) The prediction factors affecting the effectiveness of secondary schools in Chanthaburi under the Secondary Educational Service Area Office 17 was shown in the following regression equation; Row Score regression equation Yˆ = 0.667 + 0.365 (X3.3) + 0.334 (X3.2) + 0.141 (X2.3), Standard Score regression equation Zˆ = 0.384 (Z3.3) + 0.345 (Z3.2) + 0.152 (Z2.3)Downloads
Published
2021-05-05
Issue
Section
Articles