การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Keywords:
การพัฒนาแบบวัด, คุณลักษณะอันพึงประสงค์, ความซื่อสัตย์สุจริตAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด การสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับท้องถิ่นและเพื่อสร้างคู่มือการใช้แบบวัดดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1,200 คน จำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก การทดลองใช้ครั้งที่ 1 จำนวน 150 คน กลุ่มที่สอง การทดลองใช้ครั้งที่ 2 จำนวน 450 คน และกลุ่มที่สาม ใช้จริงครั้งที่ 3 จำนวน 600 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริตซึ่งเป็นแบบสถานการณ์ 4 ตัวเลือก สร้างตามแนวคิดของแครธโวล บลูม และมาเซีย การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดใช้ความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนกรายข้อด้วยวิธีการทดสอบทีค่าความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และเกณฑ์ปกติวิเคราะห์ด้วยคะแนนที ผลการวิจัย พบว่า แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านความซื่อสัตย์สุจริตมีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60 ขึ้นไป ค่าอำนาจจำแนกทุกข้อ พบว่า ค่า t มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความเที่ยงของแบบวัดมีค่าเท่ากับ .70 และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัด พบว่า โมเดล การวัดความซื่อสัตย์สุจริตมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2=9.690, df = 8, p= 0.287, X2/df =1.211, RMSEA=0.022, CFI=0.991, TLI =0.984, SRMR=0.022) สำหรับเกณฑ์ในการแปลผล สามารถจำแนกออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้ คะแนนทีตั้งแต่ 80 ขึ้นไป แปลว่า ความซื่อสัตย์สูงมาก คะแนนที 60-79 แปลว่า ความซื่อสัตย์สูง คะแนนที 40-59 แปลว่า ความซื่อสัตย์ปานกลาง คะแนนที 20-39 แปลว่า ความซื่อสัตย์ต่ำ และคะแนนทีต่ำกว่า 19 แปลว่า ความซื่อสัตย์ต่ำมาก The objectives of this research were to construct the honesty scale for Grade 4-6 students in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, to examine the scale properties, to calculate the local norm, and to construct user manual for honesty scale. The sample in this research was selected by the multi-stage sampling consisted of 1,200 students who were divided into three groups: (i) testing I (n=150), (ii) testing II (n=450), and (iii) testing III (n=600). The researchinstrument was a four-choice situational scale of desirable characteristics in honesty and the choices were constructed according to the concept of Krathwohl, Bloom and Masia. The scale properties were examined by using the content validity, the discrimination using t-test, the reliability using the Cronbach’s alpha coefficient, and the construct validity using the confirmatory factor analysis. The local norm in this study was calculated by using T-score.The finding indicated that the content validity of the honesty scale was met sincethe IOC in every item was more than 0.6. The discrimination analysis of every item displayed that there were statistical differences at the .05 level of honesty between the high and the low groups. The reliability of the scale was 0.70. The construct validity of the measurement showed that the model fitted with the empirical data as shown in the fitted indices: X2=9.690, df= 8, p= 0.287, X2/df =1.211, RMSEA=0.022, CFI=0.991, TLI =0.98, SRMR=0.022. Based on the local norm, the level of honesty was divided into five main groups: very high (T≥80), high (T60-T79), moderate (T40-T59), low (T20-T39), and very low (<T19).Downloads
Issue
Section
Articles