ศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว เขตลาดกระบัง
Keywords:
ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์, กลุ่มชาติพันธุ์มอญ, เชื่อมโยงการท่องเที่ยวAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเขตลาดกระบัง 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่าง ด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณีมอญโดยเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง จำนวน 3 ท่าน 2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และ 3) กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 222 คน โดยกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูป Yamane ตามค่าความคลาดเคลื่อน 5% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ลวดลายเบื้องต้น 2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีผลต่อลวดลายที่พัฒนาขึ้น 3) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลต่อรูปแบบและความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเขตลาดกระบัง คือ ผ้าสไบมอญ ธงตะขาบ ดอกกระเจี๊ยบแดง ฝักกระเจี๊ยบเขียว และนก 2) ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง ผ่านคัดเลือก 3 ลวดลาย ได้แก่ รูปแบบที่ 1, 3 และ 6 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ลงในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก The purposes of this mixed methods research were; 1) to study the identity of Mon ethnic groups in Latkrabang district 2) to design Mon community ethnic identity as products for tourism in Latkrabang district, and 3) to evaluate consumer satisfaction with Mon community ethnic identity as products for tourism in Latkrabang district. The sample consisted of 1) 3 experts of Mon culture and tradition by selecting a specific target group of experts, 2) sample for evaluating the product design 6 experts, and 3) 222 consumer groups by specifying the sample size according to Yamane finished table according to the 5% error value. The tools used in the research were 1) Initial interview and preliminary pattern analysis, 2) Questionnaire for expert opinions on the developed pattern, 3) Questionnaire for experts on the form and suitability of the prototype products, and 4) The evaluation form for the satisfaction of the sample of consumers towards the products from the Mon ethnic group identity to link tourism in Latkrabang District. The data analysis includes content analysis, percentage, mean, and standard deviation. The results of the research are as follows: 1) Mon ethnic group identity in Latkrabang district is Mon cloth, flag, okra pod, okra flowers and birds. 2) The result of product design from Mon community ethnic identity to link tourism in Latkrabang District through the selection of 3 patterns, namely patterns 1, 3, and 6 can be applied to various products. 3) Consumers' satisfaction with products from Mon community ethnic identity to link tourism in Latkrabang District Overall, the satisfaction is at a high level.Downloads
Issue
Section
Articles