ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยมต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา ตอนปลาย
Keywords:
การปรึกษากลุ่ม, ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม, ความมีวินัยในตนเอง, นักเรียน, ระดับประถมศึกษาตอนปลายAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยมต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 200 คน ที่มีคะแนนความมีวินัย ในตนเองน้อยที่สุด จำนวน 20 คน และสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่แบบวัดความมีวินัยในตนเอง และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม นักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติ การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลองและระยะหลังการทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองระหว่าง ระยะเวลาก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีคะแนนความมีวินัยในตนเอง ระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ นักเรียนที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยมมีคะแนนความมีวินัยในตนเองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purpose of this research was to study the effects of the behavioral group counseling on self-discipline of upper elementary students. The sample was selected from 200 students in a private school in the academic year of 2019. The sample consisted of 20 upper elementary students who had low score on the self-discipline scale. The 20 students was randomly assigned into the experimental group and control group; each group comprised of ten students. The instruments used in this study were the self-discipline scale and the behavioral group counseling program. The intervention was administered 3 sessions a week for 4 weeks. So there were 12 sessions in total, 60 minutes per session. The students in the control group did activities regularly as usual. Data collection was divided into 2 phases: pretest and posttest (pre experiment and post experiment). Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, and t-test. Then the data were analyzed by comparing the independent t-test between the experimental group and the control group. Moreover, the data was analyzed for both posttest and pretest in the experimental group with the dependent t-test. The research found that the students who received counseling in the behavioral theory group had higher self-discipline scores after the experiment significantly at the level of .05. Besides, the students who received counseling on the behavioral theory group had higher self-discipline scores than the control group in the post-experimental period statistically significant at the level of .05.Downloads
Issue
Section
Articles