ผลการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • วิจิตรา วงศ์ประทุม
  • ทวี สระน้ำค้า

Keywords:

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การเรียนแบบร่วมมือ, กลุ่มผลสัมฤทธิ์, การคิดวิเคราะห์

Abstract

        การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างวิธีการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานกับผู้เรียนที่เรียนในรูปแบบการเรียนปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานกับผู้เรียนที่เรียนในรูปแบบการเรียนปกติ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในการเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสีชมพูศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนแบบผสมผสาน 2) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน รูปแบบการวิจัย Randomized Pretest - Posttest Control Group Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสานมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.63/80.31 2) การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานสูงกว่าผู้เรียนในรูปแบบการเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานสูงกว่าผู้เรียนในรูปแบบการเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบผสมผสาน อยู่ในระดับ “มาก”          The objectives of this research were 1) to create Blended Learning Using Collaborative Learning with Student Team Achievement Divisions (STAD) Technique to enhance analytical thinking for grade VII students. 2) to compare the analytical thinking of the learners with the Blended Learning with the learner in the regular learning session. 3) to compare the achievement of learners with the Blended Learning with the learner in the regular learning session. 4) to study the students' satisfaction in Blended Learning. The samples used in this study were grade VII students in Sichomphusuksa School of Khon Kaen Provincial Administrative Organization. Consists of 32 experimental groups and 32 control groups who were randomly assigned to the Simple Random Sampling. The instruments used in this research were 1) the Blended Learning 2) the analytical thinking test 3) the learning test 4) the satisfaction evaluation. This research base on Randomized Pretest - Posttest Control Group Design. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation and the t-test independent. The research finding were; 1) The Blended Learning Using Collaborative Learning with Student Team Achievement Divisions (STAD) Technique on Learning Management System (MOODLE) to enhance analytical thinking for grade VII students had standard criteria efficiency 80.63/80.31, 2) The students who studies the Blended Learning Using Collaborative Learning with Student Team Achievement Divisions (STAD) Technique to enhance analytical thinking for grade VII students had the analytical thinking score higher than students who studies in regular learning session, 3) The students who studies the Blended Learning Using Collaborative Learning with Student Team Achievement Divisions (STAD) Technique to enhance analytical thinking for grade VII students had the learning achievement score higher than students who studies in regular learning session, and 4) The students who studies the Blended Learning Using Collaborative Learning with Student Team Achievement Divisions (STAD) Technique to enhance analytical thinking for grade VII students had the satisfaction score in the “Good” level.

Downloads