การสังเคราะห์งานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • โชติชนะ โพธินิล
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น
  • สุรีพร อนุศาสนนันท์

Keywords:

ความคิดสร้างสรรค์, การสังเคราะห์งานวิจัย, การวิเคราะห์อภิมาน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลและคุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาอิทธิพล ของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การวิเคราะห์อภิมาน งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2560 จำนวน 25 เล่ม ได้ค่าดัชนีมาตรฐาน จำนวน 88 ค่า การวิเคราะห์อภิมานใช้วิธีของ GLASS เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนีมาตรฐานของปัจจัย ที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์อยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.767 และส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ 1.247 ความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 2) ผลวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรดัมมี่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ดัมมี่เครื่องมือวัดตัวแปรตามที่ใช้แบบทดสอบและแบบวัด ดัมมี่เครื่องมือวัดตัวแปรต้นด้วยแบบประเมิน ดัมมี่การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ดัมมี่การจัดการเรียนรู้ ดัมมี่ความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของกิลฟอร์ดและคะแนน การประเมินงานวิจัย สามารถอธิบายความแปรปรวนของดัชนีมาตรฐานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ ตัวแปรทุกตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนตัวแปรตามได้ร้อยละ 75 (R=.867, R2=.751, f=18.423, p=.000) การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับ ผลการทดสอบอิทธิพลคงที่ (fixed effect) พบว่า การวิเคราะห์ภายในเล่มค่าคงที่ของค่าเฉลี่ยของดัชนีมาตรฐานความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานวิจัยไม่พบนัยสำคัญ (t=-1.648, p=.125) ตัวแปรระดับเล่มงานวิจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าดัชนีมาตรฐานความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ คะแนนประเมินคุณภาพงานวิจัย (RSCOR) จำนวนหน้าทั้งหมด (ALLPAG) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง (SIZE) และตัวแปรดัมมี่งานวิจัย ที่ตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง (DDIHYPO)           The purposes of this research were to 1) study the characteristics of research and the effect sizes of factors that affected creative thinking, and 2) synthesize the research on creative thinking through the use of meta-analytic approach of Glass’s method. The number of selected research in this study was 25 paper published during 2008 – 2017. The standard index of the study was 88. The research instruments were the coding protocol and the study quality assessment scales. Data were analyzed by using descriptive statistics, one-way ANOVA, Multiple regression analysis, and Hierarchical Linear Model analysis.           The research findings revealed that 1) the standard index of factors affecting creative thinking was 0.767 and the standard deviation was 1.247. The variances of the standard index were significantly differenced through moderator variables. 2) The multiple regression analysis found that seven moderator variables (i.e. dummy variable of Rajabhat University, dummy variable of Test for measures creative thinking, dummy variable of evaluation form of Independent variables, dummy variable of multi-stage sampling, dummy variable of management of leaning, dummy variable of Guilford’s Theory of creative thinking, and research score) were significantly predicted the standard index of factors on creative thinking at .01 level. All moderator variables can be explained the variance of the standard index at 75% (R=.867, R2=.751, f=18.423, p=.000). The results of the multi-level analysis of fixed effect found that the intercept of the effect size was not significant (t=1.648, p= 0.125). The moderator variables (i.e. RSCOR, ALLPAG, SIZE, and DDIHYPO) were affecting the standard index significantly at .01 level.

Downloads