ผลของบทเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือวิชาทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Authors

  • ปิยะนุช เถาหมอ
  • ทวี สระน้ำคำ

Keywords:

บทเรียนแบบผสมผสาน, การเรียนแบบร่วมมือ, ความคิดสร้างสรรค์, ความพึงพอใจ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างบทเรียนแบบผสมผสาน ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน 4) เพื่อวัดความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุรีพร จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) บทเรียนการเรียนแบบผสมผสาน 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษา Randomized One Group Pretest – Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการศึกษา พบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสาน มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.64/85.85 2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนต่อบทเรียนแบบผสมผสาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนต่อบทเรียนแบบผสมผสาน อยู่ในระดับ “มากที่สุด”           The purpose of the research were to 1) create Blended Learning to be effective, 2) compare the creative thinking of students before and after use of Blended Learning, 3) compare the students learning achievement before and after use of Blended Learning, and 4) measure student satisfaction of Blended Learning. The samples in this study were Grade VI students in Sureephon Kindergarten School of Khon Kaen. The population samples were 32 studies. The Instrument used research were 1) Blended Learning 2) The Creative Thinking test 3) the learning test 4) satisfaction eveluation. This research base on Randomized One Group Pretest - Posttest Design. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test dependent. The research findings found that 1) The Blended Learning was found the Efficiency was 86.64/85.85 2) The student's score of Creative Thinking using Blended Learning was higher before using with the statically significant at the level .05 3) The student's score of achievement using Blended Learning was higher before using with the statically significant at the level .05 4) The students were satisfied with the Blended Learning at the “highest” level.

Downloads