การพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การ งานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Keywords:
กิจกรรมลดเวลาเรียน, กิจกรรมเพิ่มเวลารู้, การสอนแบบโครงงาน, การงานอาชีพและเทคโนโลยี, กลุ่มสาระการเรียนรู้Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 (75/75) 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนด้วยกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแหลมแท่น จำนวน 20 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน 2) แบบทดสอบ เรื่อง การประยุกต์ใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint และ 3) แบบวัดเจตคติที่มีต่อกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบโครงงานอยู่ในระดับดี The purposes of this study were; 1) to develop the Teach Less Learn More (TLLM) activities using a project base learning for Grade 5th students to be effective according to the criteria E1 / E2 (75/75), 2) to compare score after learning with the Teach Less Learn More (TLLM) activities using a project base learning according to criteria of 70% and, 3) to study the attitudes of the students towards the TLLM activities using a project base learning. The sample were 20 Grade 5th students in Banlaemtan school who selected by simple random sampling by using the lottery method. The research instruments were, 1) The lesson plan of the TLLM activities using a project base learning, 2) quiz of Microsoft PowerPoint Application, 3) the attitude questionnaire towards the TLLM activities using a project base learning. The results were, 1) the TLLM activities using a project base learning for Grade 5th students were effective according to criteria 75/75, 2) the average score after learning with the TLLM activities using a project base learning was higher than the 70 percent statistically significant at .05 and, 3) the attitudes of the students towards the TLLM activities using a project base learning was at good level.Downloads
Issue
Section
Articles