การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • จารุพักตร์ จ่าจันทึก
  • ตฤณ กิตติการอำพล
  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์

Keywords:

รูปแบบ CIPPA, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, CIPPA Model

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือก่อนเรียนกับหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 5) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการเรียนโดยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5) แบบวัดเจตคติ ต่อการเรียนโดยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนด้วยรู้แบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีความเหมาะสมมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) เจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ อยู่ในระดับดี           The purposes of this research were to: 1) develop learning activities with CIPPA Model and Cooperative Learning of grade 9th students, 2) to compare learning achievement of grade 9th students that learned by CIPPA Model and Cooperative Learning with the 70 percent of the criteria in the post - test, 3) to compare the analytical thinking abilities of grade 9th students that learned by CIPPA Model and Cooperative Learning with pre - test and post - test, 4) to compare the problem solving abilities of grade 9th students that learned by CIPPA Model and Cooperative Learning with pre - test and post - test, 5) to study the attitudes of grade 9th students toward CIPPA Model and Cooperative Learning. The participants of this study consisted of 32 students from grade 9th students of Matthayom Wat Sichanpradit School Under the Royal Patronage of His Majesty the King in the first semester of academic year 2019. They were selected by using cluster random sampling. The research instruments were the lesson plans, the learning achievement test, the analytical thinking abilities test, the problem solving abilities test and the questionnaire about the attitudes towards learning by CIPPA Model and Cooperative Learning. The findings showed that 1) The learning activities about CIPPA Model and Cooperative Learning were in a high level, 2) According to the post - test, the learning achievement of grade 9th students were higher than the 70 percent of the criteria at the statistical significant level of .05, 3) The post - test of the analytical thinking abilities of grade 9th students were higher than pre - test at the statistical significant level of .05. 4) The post - test of the problem solving abilities of grade 9th students was higher than pre - test at the statistical significant level of .05. 5) The attitudes of grade 9th students toward learning by CIPPA Model and Cooperative Learning were at high level.

Downloads