การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การสร้างภาพกราฟิก โดยโปรแกรม นำเสนอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • เบญจพร ตีระวัฒนานนท์
  • ดวงพร ธรรมะ
  • ดำรัส อ่อนเฉวียง

Keywords:

บทเรียนออนไลน์, ห้องเรียนกลับด้าน, การสร้างภาพกราฟิก, โปรแกรมนำเสนอ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การสร้างภาพกราฟิกโดยโปรแกรมนำเสนอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ให้มีประสิทธิภาพตาม เกณฑ์ E1/ E2 = 80/ 80 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่ม  แบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การสร้างภาพกราฟิกโดยโปรแกรมนำเสนอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอน ปลาย แบบทดสอบ แผนการจัดการเรียนรู้และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/ E2 = 80/  80 ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนออนไลน์ที่ได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1) การสร้างความท้าทายในชั้นเรียน 2) การเรียนรู้นอกชั้นเรียน 3) การสร้างสรรค์และสรุปองค์ความรู้ในชั้นเรียน และ 4) นำเสนอ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 81.09/ 82.46 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/ 80 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนดังกล่าว โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.14, SD = 0.32)           The purpose of this research were to develop the flipped classroom online instruction on creating graphic by presentation program for primary student in order to meet the E1/ E2 of 80/ 80 criteria, and to study the students’ satisfaction towards the learning. The population consisted of 23 students which was obtained by cluster random sampling using the classroom as a random unit. The research instruments were flipped classroom online instruction on creating graphic by presentation program for primary student, learning achievement test, learning management plans, and a questionnaire on satisfaction. The statistics used for the data analysis were mean, standard deviation, percentage, and E1/ E2. The research result showed that the flipped classroom online instruction on creating graphic by presentation program for primary student consisted of 1) Creating challenges in the classroom 2) Learning outside of the classroom 3) Creating and summarizing knowledge in the classroom and, 4) Present learning progress in class. The efficiency of the developed flipped classroom online instruction on creating graphic by presentation program for primary student was at 81.09/ 82.46, meet the criteria set. Students’ satisfaction towards the flipped classroom online instruction on creating graphic by presentation program for primary student was at a high level (average = 4.15, SD = 0.32)

Downloads