การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • เบ็ญจา สุระขันธ์
  • อุดม รัตนอัมพรโสภณ
  • ปริญญา ทองสอน

Keywords:

การจัดการเรียนรู้, ทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญา, การคิดอย่างมีเหตุผล, เจตคติทางวิทยาศาสตร์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ การคิดอย่างมีเหตุผล ก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ผลการคิดอย่างมีเหตุผล กับเกณฑ์ที่กำหนดและเพื่อศึกษาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดการคิดอย่างมีเหตุผล และ 5) แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการคิดอย่างมีเหตุผลหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก             The purposes of this research were; to compare learning achievement in the science class and rational thinking before and after being taught using Constructionism approach; to compare science learning achievement and rational thinking it with the criteria of 70%; and to study students’ attitude toward science who were taught by using Constructionism approach. The target group in this research was 28 three-grade students, of the academic year 2019. The research sample comprised of lesson plans based on the constructionism approach, Achievement test, rational thinking test, and questionnaire surveying attitude toward the science. The data was analyzed by Mean, Standard Deviation, t-test for dependent sample. The results showed that 1) the third-grade students learned under the constructionism approach on force and motion had the posttest scores higher than before learning with statistical significance at .05 level. 2) The third-grade students learned under the constructionism approach in science on force and motion had the posttest scores higher than 70% significantly at .05 level. 3) The third-grade students learned under the constructionism approach had the rational thinking scores after learning than before learning with statistical significance at .05 level. 4) The third-grade students learned under the constructionism approach had the rational thinking scores after learning higher than 70% significantly at .05 level. 5) The third-grade students learned under the constructionism approach had attitude toward science at high level.

Downloads