วิธีการเชิงปริมาณ และวิธีการเชิงคุณภาพ สู่วิธีการวิจัยแบบผสม

Authors

  • สมโภชน์ อเนกสุข

Keywords:

วิธีการเชิงปริมาณ, วิธีการเชิงคุณภาพ, วิธีการวิจัยแบบผสม

Abstract

วิธีการเชิงปริมาณ แบบแผนการวิจัยจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า เช่น นิยามของมโนทัศน์และนิยามปฏิบัติการ วิธีการวิจัยที่ใช้ การควบคุมความลำเอียง การกำหนดตัวอย่างให้เป็นตัวแทนประชากร การใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐาน เป้าหมายของการทดสอบหรือการปรับปรุงทฤษฎี การทดสอบสมมติฐาน ที่คาดหวัง วิธีการทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง วิธีการเชิงคุณภาพ เป็นความพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมแบบองค์รวมของมนุษย์ภายใต้ปริบทและความซับซ้อนทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยมักจะสนใจศึกษาประสบการณ์ของมนุษย์ โดยทำการศึกษาเชิงลึกกับกลุ่มคนจำนวนน้อย หรือเจาะจงศึกษากับกลุ่มประชาชนที่ต้องการ วิธีการเชิงคุณภาพมีความยืดหยุ่นในการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้น และนักวิจัยตอบสนองสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกระบวนการที่ทำการศึกษา โดยที่นักวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการตีความ วิธีการวิจัยแบบผสม โดยทั่วไป เป็นการวิจัยที่ใช้วิธีการทั้ง เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน ได้แก่ การรวบรวม การวิเคราะห์ และการบูรณาการข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อตอบคำถามเฉพาะ หรือชุดคำถามในการศึกษาเรื่องเดียวกัน หรือมีการศึกษาหลายช่วงในเรื่องนั้น ในบทความนี้นำเสนอ 5 รูปแบบ คือ (1) แบบแผนการวิจัยแบบลู่เข้า (2) แบบแผนที่ใช้วิธีหนึ่ง ไปขยายผลของอีกวิธีหนึ่ง (3) แบบแผนเชิงสำรวจ (4) แบบแผนเชิงอธิบาย และ (5) แบบแผนปฏิสัมพันธ์ หลายขั้นตอน  Quantitative methods rely on priori designs of what is being studied; conceptual and operational definitions, methods, controlling for bias, representative samples, standardized instrument, the purpose of theory testing or refinement, expectations of hypothesis testing, and the appropriate statistical methods for data analysis. In contrast, qualitative methods endeavor to generate holistic understanding of human behavior in all of its contextuality and complexity. The inquirer often studies of lived human experience, as intense and in-depth studies of a few cases or a purposive people. The methods are emergent and flexible, as inquirer endeavor to be responsive to what is learned as the study proceed. The inquirer is the primary instrument of data generation, analysis, and interpretation. In general, mixed methods research uses both quantitative and qualitative approach involves the collection, analysis, and integration of quantitative and qualitative data to answer a particular question or set of questions in a single or multiple study. This article describes five general types of mixed methods design; convergent designs, embedded designs, exploratory designs, explanatory design, and multiphase iterative designs.

References

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เฮาส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม: กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: อักษราพิพัฒน์.

Bordens, K. S., & Abbott, B. B. (2007). Research and design methods: a process approach. New York, NY: Mc-Graw-Hill.

Babbie, E. (2013). The practice of social research. 13th.ed. Belmont, CA: Thomson Wadsworth.

Cozby, P. C. (2005). Methods in behavioral research. 9th.ed. New York, NY: McGraw-Hill.

Creswell, J. W. (2003). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed method approaches. 2nd.ed. Thousand Oaks, CA: Sage.

Creswell, J. W. (2005). Educational research: planning, conducting, and evaluating Quantitative and qualitative research. 2nd.ed. Upper-Saddle River, New Jersey: Pearson.

Greene, J. C. (2007). Mixed methods in social inquiry. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Hesse-Biber, S. N. (2010). Mixed methods research: Merging theory with practice. New York, NY: The Guilford Press.

Johnson, B., & Christensen, L. (2004). Educational research: Quantitative, qualitative, and mixed approach. 2nd. ed. Boston, MA: Pearson.

Laws, S., Harper, C., & Marcus, R. (2003). Research for development: A practical guide. New Delhi: VISTAAR.

Leedy, P. D., & Ormrod, J. E. (2015). Practical research: Planning and design. 11th. ed. Boston: Pearson.

McMillan, J. H., & Schumacher, S. (1997). Research in Education: A Conceptual Introduction. 4th. ed. New York: Longman.

Monette, D. R., Sullivan, T. R., & Dejong, C. R. (2011). Applied social research: A tool for the human services. 8th.ed. www.cengage.com/international: Book/Cole, Cengage Learning.

Moore, N. (2000). How to do research: The complete guide to designing and managing research project. 3rd.ed. London: Library Association Publishing.

Neuman, W. L. (2014). Social research methods: qualitative and quantitative approaches. Pearson New International Edition. www.pearsoned.co.uk: Pearson.

Downloads

Published

2022-10-18