การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD

Authors

  • กรกช ฉวีวรรณชล

Keywords:

ทักษะการพูด, ภาษาจีน, การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองรีมงคลสุขสวัสดิ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้อง รวม 33 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 แผน 6 คาบๆ ละ 50 นาที 2) แบบประเมินทักษะการพูดภาษาจีน เป็นแบบทดสอบปฏิบัติการพูด ด้านทักษะการพูด สนทนาโต้ตอบ และพูดบรรยายเรื่องราว ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาจีนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ดัชนีประสิทธิผลการพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีน ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เท่ากับ 0.5304 (E.I. = 0.5304) ผลพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีน ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.04   This research aimed to compare the Chinese speaking skills of Mathayomsuksa 1 students before and after using the STAD cooperative learning technique and determine the effectiveness index (EI) of Chinese speaking skills of Mathayomsuksa 1 students using the same technique. The sample consisted of 33 students in Mathayomsuksa 1 of Nongreemongkonsuksawad School studying in the first semester of academic year 2020. The sample was obtained from cluster random sampling using classroom as a random unit. The research instruments consisted of 1) lesson plans using STAD cooperative learning technique of Mathayomsuksa 1 and 2) Chinese speaking skill assessment form. It was a speaking practice test. for speaking, interacting, speaking, narrating stories. The results of the research were as follows: 1) Chinese speaking skill mean score of students in Mathayomsuksa 1 after using STAD cooperative learning technique was higher than before learning with statistical significance at the .05 level, and 2) the effectiveness index (EI) of Chinese speaking skills of Mathayomsuksa 1 students using the same technique was 0.5304 (E.I. = 0.5304). which showed that the Chinese speaking skills of Mathayomsuksa 1 students using STAD cooperative learning technique was increased by 53.04 percent.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีน. กรุงเทพฯ : สำนักคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก. กรุงเทพฯ : แด เน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

พระมหาโสพล จันทร์ฤทธิ์, ปรีชา สุขเกษม, และประเสริฐ เรือนนะการ. (2553). การเปรียบเทียบทักษะการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือตามเทคนิค STAD กับกิจกรรมการเรียนตามคู่มือครู. วารสารสักทอง: วารสารการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 16(1), 117-130.

วิชชุตา ทิขันติ. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

Published

2022-10-18