การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการคิดฉายภาพ

Promoting learning through visual thinking

Authors

  • มนตรี วงษ์สะพาน

Keywords:

การคิดฉายภาพ, การเขียนสัญลักษณ์, การเขียนแผนภาพ, การเขียนภาพเชิงอุปมาอุปมัย, การเขียนภาพเล่าเรื่องราว

Abstract

การคิดฉายภาพ (Visual Thinking) เป็นวิธีการคิดที่เน้นกระตุ้นกระบวนการทางสมองโดยเชื่อมโยงรูปภาพกับภาษาหรือข้อมูลที่สะสมไว้ในความทรงจำแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดที่หลากหลายรูปแบบ วิธีการวาดภาพตามกลวิธีการคิดฉายภาพจะไม่เน้นความสวยงาม แต่เน้นสื่อความหมายให้เข้าใจ และเน้นความรวดเร็วในการวาดภาพรูปแบบของภาพวาดจากการคิดฉายภาพแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ การเขียนสัญลักษณ์ (Symbol/ Icon) การเขียนแผนภาพ (Diagram) การเขียนภาพเชิงอุปมาอุปมัย (Analogy) และ การเขียนภาพเล่าเรื่องราว (Scene) กลวิธีการคิดฉายภาพสามารถนำไปผสมผสานกับวิธีสอนได้หลายแบบ เช่น รูปแบบการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เป็นต้น ครูผู้สอนสามารถพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบคิดฉายภาพได้ เช่น ชุดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบคิดฉายภาพ ชุดฝึกทักษะแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์แบบคิดฉายภาพ เป็นต้น ดังนั้น กลวิธีการคิดฉายภาพจึงเป็นวิธีการที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างฝังลึกและช่วยส่งเสริมการคิดได้เป็นอย่างดี  Visual thinking is a way of thinking that focuses on stimulating brain processes by connecting images with language or information stored in memory and then conveying them to form a variety of drawings. The method of painting in the visual thinking strategies will not focus on the beauty but focusing on the meaning to be understood and emphasize the speed of drawing. The form of painting from visual thinking can be divided into 4 types, namely, symbolic writing (Symbol/Icon), diagramming (Diagram), drawing a metaphor (Analogy) and drawing a story (Scene). Visual thinking strategies can be combined with a variety of teaching methods, such as a constructivist teaching style, cooperative learning, etc. Teachers can develop learning materials by using visual thinking, such as a Visual Thinking Thai Learning Package, a Visual Thinking Package for Practicing Math Problem Solving Skills, etc. Therefore, projection thinking strategy is a method that can encourage learners to learn deeply and promote thinking as well.

References

จินตนา ธนวิบูลย์ชัย. (2559). หน่วยที่ 11 การคิด การคิดแก้ปัญหา และการตัดสินใจ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา จิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต หน่วยที่ 8-15 (น. 11-7). นนทบุรี: สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ดนยา สุเวทเวทิ. (2562). คิด-เห็น-เป็นภาพ ให้การวาดภาพสร้างการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

พรพิไล เลิศวิชาและอัครภูมิ จารุกร. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.

ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต. (2562). Visual Thinking คืออะไร. สืบค้นจาก http://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/what-is-visual-thinking/

รณิดา วงษ์สะพาน.(2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบกับชุดการเรียนรู้แบบคิดเป็นภาพ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 1(1),93-106.

สุทธิยา สุวรรณ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของไดรเวอร์และเบลล์เสริมด้วยผังมโนทัศน์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kristina Robertson. (2006). Visual Thinking Strategies for Improved Comprehension. Retrieved from https://www.colorincolorado.org/article/visual-thinking-strategies-improved- comprehension

University College Cork. (2006). Visual Thinking Strategies. Ireland. Retrieved from https://www.ucc.ie/en/vts/

Downloads

Published

2022-10-18