การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
The Development of Reading Comprehension Exercises using SQ3R technique with a mind map in Thai Learning Area for grade 4th students
Keywords:
แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ, เทคนิค SQ3R, แผนผังความคิด, กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, แบบฝึกทักษะAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับ แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน ใช้เวลา 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 82.69/82.07 ตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียน หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการเรียนวิชาภาษา ไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับแผนผังความคิด โดยรวมอยู่ในระดับมาก The purposes of this research were: 1) to develop a reading comprehension skill exercises using SQ3R technique together with a mind map for grade 4 students to be effective according to the 80/80 criteria, 2) to compare the achievement of reading comprehension skills before and after studying and 3) to study satisfaction of students. The sample group of this research was 29 students of grade 4 at Nakhon Si Thammarat Municipality International School. They were obtained by using cluster random sampling. The research instruments were: 1) 6 reading comprehension skill exercises using SQ3R technique together with mind map; 2) 6 learning management plans, 18 hours of study time; 3) 30 items of reading comprehension skills achievement test with a confidence value of 0.93 and 4) a student satisfaction assessment form of 10 items with a confidence value of 0.76. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent sample. The results of the research were as follows: 1) the efficiency of reading comprehension skill exercises by using SQ3 R technique together with mind map for grade 4 students was 82.69/82.07 higher than the 80/80 criteria. 2) The students' achievements of reading comprehension skills after studying the exercises using SQ3R technique together with the mind map were higher than before studying at statistically significant level of .05 and 3) The average satisfaction of the students who studied using the reading comprehension skill exercises using the SQ3R technique together with the mind map was at the highest level.References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นาติยา ทิพย์ไสยาสน์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
วธัญชนก อุ่มสกุล. (2553). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความภาษาไทยโดยใช้สื่อท้องถิ่นพิษณุโลกสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วาสนา ไชยชำ. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยวิธีการอ่านแบบ SQ3R ประกอบแบบฝึกทักษะและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. โรงเรียนชุมชนดอนม่วงงาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จังหวัดกาฬสินธุ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก https://www.m-society.go.th/ ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/16151/19148.pdf
อมรรัตน์ จิตตะกาล. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4, วันที่ 10 พฤษภาคม 2556.
อรรถวุฒิ ตรากิจธรกุล. (2542). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธี SQ4R ประกอบกับ TLS กับวิธีสอนตามคู่มือครู (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.