โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

A Causal Model of Factors Affecting Schools Effectiveness in Secondary Schools Based on Strategies of Educational Development Plan in Eastern Economic Corridor

Authors

  • อัชฌวุฒิ เปลี่ยนสมัย
  • สถาพร พฤฑฒิกุล
  • ภัคณัฏฐ์ จันทนวรานนท์ สมพงษ์ธรรม

Keywords:

โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา, การพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, Model of factors affecting, Schools effectiveness in secondary schools, Strategies of educational development, Eastern Economic Corridor

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ของโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 400 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบ และส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (SEM)  ผลการวิจัยสรุปได้ว่า องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปร ทั้ง 6 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบ (factors loading) สูงกว่า .50, มีค่าความเชื่อมั่นของแต่ละองค์ประกอบ อยู่ระหว่าง .57 - .72 และผลการวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (goodness of fit) กลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์  ดังนี้ Relative Chi-square = 1.55 , CFI = .98, NFI = .97, GFI = .93, AGFI = .91 และ RMSEA = .03  และมีค่าสัมประสิทธิ์เชิงการพยากรณ์ คิดเป็นร้อยละ 54 ( R2= .54 ) โดยมีค่าอิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้  ปัจจัยด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปัจจัยด้านบริบทของชุมชน ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริหารโรงเรียนและปัจจัยด้านครูและการจัดการเรียนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ  The purposes of this research were to develop and investigate a causal model of factors  affecting school effectiveness in secondary schools based on the strategies of the educational development plan in the Eastern Economic Corridor (EEC). The samples consisted of the regional area administrators, supervisors, school administrators, teachers, school board committee members, and parents, and there were 400 in total. The sample was derived by stratified multistage random sampling. The research instruments were divided into two parts; part 1 was concerned with the basic data of the samples, and part 2 was a rating scale questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics, CFA, and SEM. The results found that the confirmatory components of all six variables had a factor loading higher than .50, and the reliability of each component was between .57 -.72. The results of the causal factor model analysis showed that the goodness of fit index was consistent with the empirical data as follows:  Relative Chi-square = 1.55, CFI = .98, NFI = .97, GFI = .93, AGFI = .91 and RMSEA = .03, and predictive coefficient accounted for 54 percent (R2 = .54).The influence of each factor affecting the effectiveness of secondary schools was sorted in descending order as follows: the social and community factor; administrator leadership factor; the administrator behavior  factor;  and the teacher–instructional  factor, respectively. All were statistically significant (p<.01).

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทัดตะวัน นามจุมจัง. (2558). การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

นิโรธ สมัตตภาพงศ์. (2550). ปัจจัยพฤติกรรมการบริหารที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์. (2551). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ใน เอกสารวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานประเมินและรับรองมาตรฐานการศึกษา. (2564). ประเมินคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับการพัฒนาการศึกษาไทยอย่างมั่นคง. สืบค้นจาก http://www.onesqa.or.th/th/index.php

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2561) รายงานผลการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ 2561 กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2557). รายงานการศึกษาแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 (ฉบับย่อ). สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2548). การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย: กระแสใหม่และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม และดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9 (1), 299-313.

Bass, B.J., & Avolio, B.J. (1990). Transformational Leadership development. Palo Algo, CA: Consulting Psychologists.

Bellanca, Ron Brandt. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Student Learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Paul, Bate., & Seligman, M.E.P. (1998). Learned Optimism. New York: Pocket Books.

Downloads

Published

2022-09-23