https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/issue/feedE-Journal of Education Studies, Burapha University2024-07-23T08:59:03+00:00สำนักหอสมุดjournal.Libbuu@gmail.comOpen Journal Systems<p>E-Journal of Education Studies, Burapha University </p><p>Online Only</p>https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/article/view/10122The Use of Augmented Reality Direct Vocabulary Instruction Based on Cognitive Theory of Multimedia Learning to Enhance Vocabulary Knowledge of Thai University Students2024-07-23T07:25:42+00:00Premkamon HiranrakpattanajournalLibbuu@gmail.comPornpimol SukavateejournalLibbuu@gmail.com<p>The potential of augmented reality to merge the real and computer-generated world together can revolutionize the vocabulary field. This study aimed to 1) investigate the effectiveness of the use of augmented reality direct vocabulary instruction based on cognitive theory of multimedia learning to enhance vocabulary knowledge of Thai university students and 2) explore the perceptions of Thai university students towards the instruction. This study employed a one group pre-posttest research design. Twenty Thai university students from the second to fourth year at a public university in Bangkok participated in this study for 10 weeks. The instruments were lesson plans with AR flashcards, pre-posttest, questionnaire and interview. The data was analyzed using paired-sample t-test, mean, SD and thematic analysis. The results showed that 1) there was a significant improvement of students’ vocabulary knowledge at p 0.001. and 2) students had positive perceptions towards the instruction as they found it interesting and useful, agreeing to apply it outside classrooms. The augmented reality direct vocabulary instruction based on cognitive theory of multimedia learning enhances vocabulary knowledge systematically with an overlay of sound, pictures and real situations. It can also become part of students’ future self-learning.</p>2024-07-23T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/article/view/10123สาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ เรื่องความหลากหลายทางเพศ2024-07-23T07:40:16+00:00ญาณิพัชญ์ อาภรณ์แสงวิจิตรjournalLibbuu@gmail.comยศวีร์ สายฟ้าjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีบทบาทในการจัดสาระการเรียนรู้ ที่มีประสบการณ์ด้านการจัดสาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือการจัดสาระการเรียนรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศอย่างน้อย 5 ปี เครื่องมือที่ใช้ คือ การสังเคราะห์เอกสารโดยการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา และพิจารณาแบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมในองค์ประกอบของเนื้อหาที่ต้องการวัด ผลการวิจัยพบว่า สาระการเรียนรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจ รับรู้ และยอมรับเกี่ยวกับเพศสภาวะของตนเอง ทั้งจากภายในตนเอง และภายนอกคือ มุมมองของบุคคลอื่น จนสามารถระบุอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง นำไปสู่การพัฒนาตนเอง ผ่านการแสดงออกทางการกระทำ วิถีทางเพศ และพฤติกรรมทางเพศที่สอดคล้องกับวิถีของชุมชนและสังคม และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสม โดยปราศจากภาพเหมารวมทางเพศ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ความตระหนักรู้ทางอารมณ์ในความหลากหลายทางเพศ 2) การประเมินตนเองตามเพศวิถี 3) ความเชื่อมั่นในตนเองและการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและครอบครัว The objective of this research was to analyze the strands of lower secondary level in order to promote gender and sexual diversity awareness. The target group was the specialists with at least 5 years of experience in lower secondary level strand management or gender and sexual diversity strand management. The synthesis documents based on content validity and the IOC (Index of item-objective congruence) were used in this research to measure the consistency and congruencies of the desired content’s components, based on the questions. From the research, the strands of lower secondary level to promote gender and sexual diversity refer to the ability to understand, be aware of, and accept the gender of oneself internally and externally through other people’s points of view. This, as a result, allows that person to be able to identify the sexual identity of oneself, which leads to self-development through the expression of actions, sexual orientations, and sexual behaviors that conform to one’s community and society. This also includes proper interactions with others without any gender stereotypes. The strand’s components obtained from the analysis are 1) emotional awareness of gender and sexual diversity; 2) self-assessment based on sexuality; 3) self-esteem and safe living; and 4) relationships between oneself and family.</p>2024-07-23T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/article/view/10124ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้2024-07-23T07:47:52+00:00ศรินทิพย์ ทะสะระjournalLibbuu@gmail.comทิพมาศ เศวตวรโชติjournalLibbuu@gmail.comสันติ อุนจะนำjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ และ 2) ตรวจสอบโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุขของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนใต้ ผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 850 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนใช้หลักการทางสถิติ วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Factor Analysis ในรูปแบบของการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) โดยค่าความสอดคล้องทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 และวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.99 ผลการศึกษาพบว่า 1) ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสันติสุข มี 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย 100 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) ความสบายกาย มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 2) ความสบายใจ มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 3) ความสุข มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 4) ความสงบ มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ และ 5) ความยุติธรรม มี 4 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ และ 2) โครงสร้างตัวบ่งชี้ของภาวะผู้นำสันติสุข มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (X<sup>2</sup>) เท่ากับ 9.77 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 5 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value) เท่ากับ 0.08 โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลัก มีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.82 – 0.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.50 ทุกองค์ประกอบหลัก และค่าองค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้ มีค่าเป็นบวกตั้งแต่ 0.47 – 1.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 0.30 ทุกตัว (ยุทธ ไกยวรรณ์, 2557) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า The objectives of this research were 1) to study the peace leadership indicator for administrators in the special development zone of the southern border provinces and 2) to examine the module structure of peace leadership for administrators in the special development zone of the southern border provinces. The respondents were the administrators, teachers, and school boards; the total number of respondents was 850 selected through proportional stratified random sampling. Data were analyzed using Factor Analysis statistics in the form of Confirmatory Factor Analysis (CFA). The research instrument was the five-point rating scale questionnaire with high internal consistency (α = 0.99) and content validity (IOC = 0.97). Confirmatory factor analysis (CFA) was conducted using SPSS software to analyze the data. The research results identified five leadership indicators with a total of 100 sub-indicators. These indicators encompassed: 1) physical happiness (4 sub-components, 20 indicators); 2) relaxation (4 sub-components, 20 indicators; 3) happiness (4 sub-components, 20 indicators); 4) peace (4 sub-components, 20 indicators); and 5) Justice (4 sub-components, 20 indicators). The Chi-Square test (X<sup>2</sup>= 9.77, df = 5, p-value = 0.08) supported the model's overall fit. Additionally, the Exploratory Factor Analysis (EFA) loadings ranged from 0.82 to 0.96 for overall, subcomponent, and indicator levels, exceeding the recommended threshold of 0.50. Furthermore, individual item loadings ranged from 0.47 to 1.00, surpassing the 0.30 cut-off point (Yuth Kaiyawan, 2557). These findings suggest statistically significant results at the .01 level.</p>2024-07-23T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/article/view/10125การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ2024-07-23T07:54:25+00:00ธนันชนก นิชเปี่ยมjournalLibbuu@gmail.comรุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์journalLibbuu@gmail.comสิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์journalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในกาวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการอ่าน จับใจความ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (average) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่าที แบบ t-test for dependent sample และ แบบ t-test for one Samples ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.18/82.5 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก The purposes of this research were to: 1) develop and evaluate the efficiency of lesson plan using constructivism theory with analogy technique for the 7<sup>th</sup>-grade students base on the standard criteria 80/80; 2) compare the 7<sup>th</sup>-grade student’s Thai reading comprehension skill before and after using the lesson plan; 3) compare the 7<sup>th</sup>-grade student’s Thai reading comprehension skill after learning with the lesson plan with 70 percent criterion; and 4) assess 7<sup>th</sup>-grade students’ satisfaction with learning through the constructivism theory and analogy technique. The sample of this study was 40 Matthayomsuksa 1/1 students, who studied in Phanomsarakham “Phanom Adun Witthaya” school. The sample was randomly selected by using cluster random sampling. The research instruments consisted of the constructivism theory and analogy technique lesson plans, a Thai reading comprehension ability test, and the student satisfaction questionnaire. The statistics used in this research were mean, standard deviation, t-test for dependent samples, and t-test for one-samples. The results revealed that the lesson plan using constructivism theory with analogy technique possessed the efficiency of 80.18/82.5 which was higher than the set 80/80 of criteria. The 7<sup>th</sup>-grade students’ Thai reading comprehension skill after using constructivism theory with analogy technique was higher than the pretest scores at the .05 statistically significant level. The 7<sup>th</sup>-grade students’ Thai reading comprehension skill after using constructivism theory with analogy technique was statistically higher than the 70 percent criterion at the .05 level. The satisfaction of the 7<sup>th</sup> -grade students was at a high level.</p>2024-07-23T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/article/view/10126ผลของโปรแกรมนิทานดนตรีตามทฤษฎีเกสตอลท์ต่อความสนใจจดจ่อ ของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาตอนต้น2024-07-23T08:08:23+00:00พรรณผกา ใจแก้วjournalLibbuu@gmail.comวรากร ทรัพย์วิระปกรณ์journalLibbuu@gmail.comจุฑามาศ แหนจอนjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสนใจจดจ่อของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมนิทานดนตรีตามทฤษฎีเกสตอลท์ ระหว่างก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล 2) เปรียบเทียบความสนใจจดจ่อของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมในระยะหลังทดลองและติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง อายุ 6-9 ปี จำนวน 36 คน ที่มีคะแนนจากแบบทดสอบความสนใจจดจ่อ เรียงคะแนนจากมากสุดไปน้อยสุด จับคู่คะแนนจัดเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 18 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมนิทานดนตรีตามทฤษฎีเกสตอลท์ จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเรียนการสอนปกติ ทดสอบผลการทดลอง 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล 3 สัปดาห์ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอร์โรนี ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนความถูกต้องในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าระยะหลังทดลอง และติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเวลาปฏิกิริยา ระยะติดตามผลต่ำกว่าหลังทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งระยะหลังทดลอง และติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมนิทานดนตรีตามทฤษฎีเกสตอลท์สามารถเพิ่มความสนใจจดจ่อของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาได้ The objectives of this research were to 1) compare the attention of female grade 1-3 students in the experimental group across the pre-test, post-test, and follow-up test periods, and 2) compare the attention of female grade 1-3 students between the experimental group and the control group during the post-test and the follow-up test phases. A sample of 36 female students aged 6-9 years from a private school participated. The sample was divided into two groups based on paired attention test scores: an experimental group (n=18) and a control group (n=18). The experimental group received an eight-time jungle music program based on Gestalt theory. The program consisted of twice-weekly sessions, each session lasting 50 minutes. The experiment was divided into 3 phases: a pre-test, a post-test, and a 3-week follow-up phase. Data were analyzed using repeated-measures analysis of variance, with one between-subjects variable and one within-subjects variable. Pairwise comparisons were conducted using Bonferroni's method. The results indicated that 1) the experimental group demonstrated significantly higher AC scores in the post-test and follow-up tests compared to the pre-test. Additionally, the experimental group demonstrated significantly higher AC scores than the control group (p < .05). 2) The experimental group showed significantly lower RT scores in the post-test and the control group in terms of the post-test and follow-up phase (p < .05). It can be concluded that the jungle music program based on gestalts theory is effective in enhancing the attention of female grade 1-3 students.</p>2024-07-23T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/article/view/10127ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 62024-07-23T08:13:47+00:00ธนาดุล สุทธิรัตน์journalLibbuu@gmail.comอาพันธ์ชนิต เจนจิตjournalLibbuu@gmail.comเวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจรjournalLibbuu@gmail.comพาวา พงษ์พันธ์journalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคKWDL จำนวน 7 โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.75 และ 0.56 2) แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.60 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.75 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWDL มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were to: 1) compare the mathematical concepts of Mathayomsuksa 6 students after learning with the problem-based learning approach with KWDL technique with the criterion 70%, and 2) compare the mathematical problem-solving ability of Mathayomsuksa 6 students after learning with the problem-based learning with KWDL with the criterion 70%. The sample was 42 students of Mathayomsuksa 6/12 from the first semester of the 2023 academic year. They were selected using cluster random sampling. The research instruments used in this research included: 1) seven lesson plans based on problem-based learning management plans with KWDL techniques, with a mean score of 4.75 and standard deviation of 0.56, 2) mathematical concepts test with difficulty ranged from 0.23 to 0.60, discriminatory power ranged from 0.28 to 0.69, and reliability of 0.70, and 3) mathematical problem-solving ability test with difficulty ranged from 0.21 to 0.75, discriminatory power ranged from 0.21 to 0.67, and reliability of 0.77. The statistics used for analyzing the collected data were mean, standard deviation, and one sample t-test. The research results indicated that: 1) the mathematical concepts of Mathayomsuksa 6 students after learning with problem-based learning with KWDL technique activities was higher than the set criterion of 70% at the .05 significance level, 2) the mathematical problem-solving ability of Mathayomsuksa 6 students after learning with the problem-based learning with KWDL technique activities was higher than the set criterion of 70% at the .05 significance level.</p>2024-07-23T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/article/view/10128การศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนไวยากรณ์ประโยค“把”(bǎ) ของผู้เรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)2024-07-23T08:19:13+00:00รัฐพร ปานมณีjournalLibbuu@gmail.com<p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาการเรียนการสอนไวยากรณ์ประโยค “把” (bǎ) ในภาษาจีนกลางผ่านสื่อการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแก่ผู้เรียนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ EEC โดยมีการพัฒนาชุดสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนกลางระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดสื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จำนวน 80 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนกลางที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าเท่ากับ 78.37/73.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ของผู้เรียนหลังเรียนด้วยสื่อการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้ไวยากรณ์ประโยค“把” (bǎ) ในภาษาจีนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับดี This research aimed to: 1) study and develop the teaching media package for teaching the“把”(bǎ) grammar sentence in Mandarin Chinese to Chinese language learners in higher education in Thailand's Eastern Economic Corridor (EEC), targeted a score of 75/75 on effectiveness criteria; 2) Compare pre- and post-instruction learning achievement in "把"(bǎ) sentences, and 3) Investigate learner satisfaction with the "把"(bǎ) grammar sentence teaching media package. The sample in this study included 80 first-year undergraduate students from 3 educational institutes in ECC (2024 academic year). Data analysis employed means, standard deviations, and t-tests. The research results reveal that: 1. The efficiency of the teaching media package for teaching “把”(bǎ) grammar sentences in Mandarin Chinese achieved an effectiveness rating of 78.37/83.75, exceeding the set criteria of 75/75. 2. The learners’ learning achievement after learning the “把” (bǎ) grammar sentence through the teaching media package was higher at the statistically significant point of 0.01. 3. The learners’ satisfaction towards the teaching media package in teaching “把” (bǎ) grammar sentences in Mandarin Chinese was at a good level.</p>2024-07-23T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/ejes/article/view/10129สภาพ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา2024-07-23T08:30:13+00:00ณฐมนต์ คมขำjournalLibbuu@gmail.comลีลาวดี ชนะมารjournalLibbuu@gmail.com<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) ประเมินความต้องการจำเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติ การสอน สำหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 95 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ได้มาจากสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .58 - .90 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .53 - .83 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติการสอน โดยรวมและรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านจิตวิจัย ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการเข้าใจผู้เรียน ตามลำดับ The purposes of this research were to: 1) investigate the current situation and desired conditions for enhancing teaching competency among pre-service teachers in early childhood education, Faculty of Education, Burapha University, and 2) assess their needs for enhancing teaching competency. The research sample consisted of 95 students, determined using Krejcie & Morgan's table for sample size determination through stratified random sampling. The research utilizes two instruments: 1) a questionnaire on the current status of enhancing teaching competency, with an index of congruence between .80-1.00, power of discrimination from .58 - .90, and reliability of .98; 2) a questionnaire on the desired conditions for enhancing teaching competency, with an index of congruence between .80-1.00, power of discrimination from .53 - .83, and reliability of .97. The statistical analysis includes percentages, means, standard deviations, and the prioritization of needs using the Modified Priority Needs Index (PNIModified). The results revealed that: 1) the current status of enhancing teaching competency is generally at a high level, and the desired conditions for enhancing teaching competency are at the highest level; 2) the results of the need assessment for enhancing teaching competency, both overall and specific aspects, are ranked from highest to lowest as follows: research mind, assessment and evaluation of student learning, learning management, and understanding of learners.</p>2024-07-23T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024