การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงศาลาดินในการจัดการคุณภาพน้ำในคลองมหาสวัสดิ์
Keywords:
ชุมชนสุขภาพพอเพียง, มลพิษทางน้ำ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, ชุมชนศาลาดิน, คลองมหาสวัสดิ์, พุทธมณฑล, Health sufficient community, water pollution, community participation, Saladin community, Mahasawat Canal, PhutthamonthonAbstract
บทคัดย่อ โจทย์วิจัยของปัญหามลพิษทางน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ได้จากการมีส่วนร่วมของชุมชนศาลาดิน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยการวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการวิจัยแบบบูรณาการเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนสุขภาพพอเพียงภายใต้ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ผลจากเวทีเสวนาของชุมชนพบว่า “ปัญหามลพิษทางน้ำ” เป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและสุขภาพชุมชน โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำเสีย โดยการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ จึงได้ดำเนินการสำรวจคลองโดยรอบชุมชนเก็บตัวอย่างน้ำ 24 ตัวอย่างจากคลองมหาสวัสดิ์, คลองสาขา และจากหมู่บ้านจัดสรร การสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง คุณภาพน้ำที่ตรวจวิเคราะห์ประกอบด้วย ความโปร่งใส, ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH), ค่าความนำไฟฟ้า (EC), อุณหภูมิ, ความเค็ม, ความลึก, BOD, ปริมาณสารแขวนลอยทั้งหมด (TSS), ของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำ (TDS), ฟอสฟอรัสทั้งหมด (TP), ไนเตรท-ไนโตรเจน (NO3--N), แอมโมเนียไนโตรเจน (NH3-N), ออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO), total coliform bacteria, fecal coliform bacteria, แคดเมียม (Cd) และตะกั่ว (Pb) ผลการศึกษาที่สำคัญเกี่ยวข้องกับชุมชนในการแก้ไขปัญหาได้แก่ 1) ปัญหาน้ำเสียจากหมู่บ้านจัดสรร พบค่าโคลิฟอร์มแบคทีเรีย BOD และ NH3–N ในปริมาณสูง เนื่องจากไม่ได้มีการบำบัดน้ำทิ้ง จึงได้มีการผลักดันโดยชุมชนและอบต.มหาสวัสดิ์ ให้หมู่บ้านจัดสรรมีการดำเนินการติดตามและควบคุมระบบการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2) ปัญหาน้ำเสียจากโดยรอบชุมชน ซึ่งพบค่า fecal coliform bacteria ที่สูง เป็นการบ่งชี้ถึงการปนเปื้อนอุจจาระในแหล่งน้ำ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสวัสดิ์ร่วมกับชุมชนได้ดำเนินการกระตุ้นจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงห้องสุขาและการใช้ให้เป็นไปตามหลักสุขอนามัย 3) คุณภาพน้ำ(DO) ต่ำในคลองมหาสวัสดิ์ เนื่องจากภาวะน้ำนิ่ง ปัญหาความหนาแน่นของผักตบชวา การปล่อยน้ำจากการเผาซากเหลือทิ้งทางการเกษตรและน้ำทิ้งที่มีปุ๋ยออกสู่แหล่งน้ำ ส่งผลทำให้ผักตบชวามีการโตเร็ว การแก้ปัญหานี้จึงควรร่วมมือจากทุกภาคส่วน Abstract: A research question on the problem of polluted water in the Mahaswat Canal was initiated with the Saladin community participation, Phutthamonthon District, Nakhon Pathom Province. This research is under the integrated research project on community development for sufficient health under the “Sufficient Economy Philosophy”. Results from community meetings suggest that water pollution is a major community concern related to their way of life and community health. As a result, surveys of the canal network around the community were carried out. This research project was aimed to study the community participation on water management by water quality analysis. Twenty-four water samples were collected from the Mahasawat Canal, its tributaries, and in housing projects nearby, in both rainy and dry seasons. The following water parameters were measured: transparency, pH, electrical conductivity, temperature, salinity, depth, biochemical oxygen demand, total suspended solids, total dissolved solids, total phosphorus, nitrate, ammonia nitrogen, dissolved oxygen, total coliform bacteria, fecal coliform bacteria, cadmium, and lead. Significant findings which concerned the community and are related to solving the problems are: 1) Waste water from the housing project yielded high levels of total coliform bacteria, BOD, and NH3-N. This was because the discharged water from the housing projects was not treated. In response, the Saladin community managed to solve the problem by encouraging the Mahasawat local administrative authority to increase its monitoring and control efforts for more efficienct water treatment; 2) Sewage levels of coliform bacteria, around the community was high indicating fecal contamination in the canal. Therefore, the Mahasawat community hospital and the Saladin community encouraged some houses to build and properly use toilets; 3) Low water quality (DO) in the Mahasawat Canal due to slow flow rate, high density of water hyacinth, and water discharged from adjacent paddy field with remaining rice straw and fertilizers. In addition, the remaining rich fertilizer water from paddy field leads to high productivity for water hyacinth in the canal. The solution to this last problem should be carried out in cooperation with all stake holders along the Mahasawat Canal.Downloads
Published
2021-06-28
Issue
Section
Articles