ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตามการรับรู้ของบุคลากรในหน่วยงานระดับเขต กระทรวงสาธารณสุข
Keywords:
คุณภาพการบริหารจัดการ, ค่านิยมร่วมองค์การ, กลยุทธ์องค์การ, ระบบงาน, Quality management, Corporate culture, Corporate strategy, Work systemAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยทำนายนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของหน่วยงานระดับเขต กระทรวงสาธารณสุข สุ่มตัวอย่างข้าราชการแบบเป็นระบบจากบัญชีรายชื่อข้าราชการในหน่วยงานระดับเขต 12 เขต โดยเรียงลำดับตามจำนวนข้าราชการที่อยู่ในหน่วยงานระดับเขต ที่มีจำนวนมากสุดไปถึงจำนวนน้อยสุด จำนวน 290 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงระหว่าง .86 -.94 วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรรับรู้ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P< .05) กับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐโดยรวมและรายด้าน คือ ค่านิยมร่วมองค์การ (X1) กลยุทธ์องค์การ (X2) ระบบงาน (X3) ทักษะบุคลากร (X4) และโครงสร้างองค์การ(X5)โดยพบว่าทั้ง 5 ปัจจัยทำนายความสำเร็จโดยรวมได้ร้อยละ 62.3 (R2= 0.623) และมีสมการทำนายดังนี้ Y = .268X1+.197X2+.184X3+.197X4 +.119X5 รายด้านพบว่ามี 4 ปัจจัยที่เรียงตามน้ำหนักการทำนายความสำเร็จได้มากกว่าร้อยละ 45 คือ ด้านการดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ( X1, X5, X4, X3) (R2 = 0.478) ด้านผลสัมฤทธิ์การจัดการความรู้ของหน่วยงาน ( X1, X2,X3, X4) (R2 = 0.451) และด้านความร่วมมือการดำเนินการตามแผนการปรับปรุงระบบการเรียนรู้ ( X1, X2,X4, X3) (R2 = 0.450) และพบว่ามี 3 ปัจจัยที่เรียงตามน้ำหนักการทำนายความสำเร็จได้มากกว่าร้อยละ 30 คือ ด้านการดำเนินการตามแผนพัฒนา ( X3,X1,X5) (R2 = 0.397) ด้านการรายงานข้อมูล( X4,X2, X3) (R2 = 0.367) และด้านการพัฒนาข้าราชการตามเป้าหมายตัวชี้วัด ( X4,X2, X1) (R2 = 0.329) ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับทั้ง 5 ปัจจัยเหล่านี้เพื่อช่วยผลักดันให้การพัฒนาคุณภาพประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นAbstract This predictive research was aimed to investigate factors influencing the successful Public Sector Management Quality Award (PMQA) based on perception of the personnel at the regional level of the Ministry Public Health. 290 subjects were recruited by systematic random sampling technique. Each organization was rank according to the number of personnel, from maximum to minimum. A questionnaire with the reliability of .86-.94 was used for collecting data. Data analysis was conducted with SPSS for Windows, and presented in terms of mean, standard deviation, mean percentage, frequency, percentage, and stepwise multiple regression analysis. The results indicated that most civil servants perceived medium level of the success of PMQA (P< .05). Factors influencing the success of PMQA were corporate strategy (X1), organizational structure (X2), work system (X3), personnel skill (X4), and corporate culture (X5). It was found that all five predictors can determine the overall success of PMQA at 62.3% (R2=0.623), (Y = .268X1+ .197X2 +.184X3+.197X4 +.119X5). Four predictors, according to predictive ability, can predict more than 45% (R2 > 0.45) on the success of PMQA, which included Data Analysis Domain ( X1, X5, X4 X3), (R2 = 0.478); Corporate Knowledge Management Effectiveness Domain ( X1, X2,X3, X4), (R2 = 0.451); and Cooperation in the Implementation of Learning System Improvement Plan Domain ( X1, X2,X4, X3), (R2 = 0.450). Three predictors according to predictive ability, can predict more than 30% (R2 > 0.30) on the success of PMQA, which include Implementation of Development Plan Domain ( X3,X1,X5) (R2 = 0.397), Data Report Domain ( X4,X2, X3), (R2 = 0.367); and Personnel Development According Target Indicators Domain ( X4,X2, X1), (R2 = 0.329) The authors suggested that these five predictors should be emphasized to increase the success of quality management.Downloads
Published
2021-06-28
Issue
Section
Articles