ผลของการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนประถมศึกษาชาย
Keywords:
การสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน, นักเรียนประถมศึกษาชาย, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, Self-Efficacy, Primary School Students, Alcohol drinkingAbstract
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระหว่างกลุ่มนักเรียนประถมศึกษาชายที่เข้าร่วมโปรแกรมกับกลุ่มนักเรียนประถมศึกษาชายที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มละ30 คน สุ่มตัวอย่างกลุ่มทดลองโดยการจับฉลากและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมให้มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มทดลองในเรื่องอายุ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนซึ่งพัฒนาขึ้นตามแนวคิดของแบนดูรา (Bandura, 1997)ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและประยุกต์มาจากการศึกษาที่ผ่านมา แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยวิธีครอนบาคอัลฟาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, t –test และANCOVAผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่พยาบาล ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการปฏิเสธของวัยรุ่น เพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นต่อไปABSTRACT This study was a quasi - experimental study with nonequivalent control group pretest posttest design. The purpose of this study was to compare the perceived drinking refusal self efficacy, drinking refusal outcome expectations, and drinking refusal skills between male primary school students participating in the program with those who did not participate in the program. Thirty participants were assigned to each group. Simple random sampling was used to select the subjects for experimental group. The control group was similar in age and GPA with the experimental group. The experimental group received the self-efficacy enhancement program based on the concept of Bandura (1997). Questionnaires were developed by the researchersand adapted from the previous studies. They included demographic data, perceived drinking refusal self-efficacy, drinking refusal outcome expectations, and drinking refusal skills.The reliability of the questionnaires was analyzed by Cronbach’s Alpha Coefficient. Percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, t-test and ANCOVA were used for data analysis. The findings revealed that the experimental group had significantlyhigher scores of perceived drinking refusal self-efficacy, drinking refusal outcome expectations and drinking refusal skills than the control group. Study results could be used as a guideline for nurses, teachers and people concerned to develop refusal skills for adolescents to prevent them from engaging in alcohol drinking.Downloads
Published
2021-06-28
Issue
Section
Articles