ความตรงและความเชื่อมั่นของแบบสอบถามประเมินประสบการณ์การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ฉบับภาษาไทย

Authors

  • นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์
  • ภูดิท เตชาติวัฒน์

Keywords:

ความตรงและความเชื่อมั่น, การดูแลต่อเนื่อง, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, เบาหวาน, Validity and reliability, Continuity of care, Type 2 Daibetes Mellitus patients

Abstract

บทคัดย่อ         ความตรงและความเชื่อมั่นของแบบสอบถามประเมินประสบการณ์การดูแลต่อเองสำหรับผู้ป่วยเบาบาหวานชนิดที่ 2 ฉบับภาษาไทย ได้รับการแปลมาจาก Experienced Continuity of Care for Diabetes Mellitus (ECC-DM) ประเทศไทยยังไม่มีเครื่องมือในการประเมินการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์แปลข้ามวัฒนธรรมและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ECC-DM ฉบับภาษาไทย         ขออนุญาตการแปลแบบสอบถามจากนักวิจัยหลักผู้สร้างเครื่องมือ ECC-DM ประเทศอังกฤษก่อนการแปล หลังจากนั้นดำเนินการแปลและปรับแบบสอบถามให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม โดยมีผู้แปลแบบสอบถามต้นฉบับเป็นภาษาไทย จากนั้นตรวจความหมายโดยผู้วิจัยและแปลภาษากลับจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้คงความหมายเดิม ทำการสังเคราะห์ปรับเปลี่ยนภาษาไทยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย ด้วยการพิจารณาความเหมือนหรือเทียบเท่าใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ความเทียบเม่าด้านความหมาย 2) ความเทียบเท่าด้านสำนวน 3) ความเทียบเท่าด้านประสบการณ์ และ 4) ความเทียบเท่าด้านแนวคิด โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ ครอบครัว นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ และผู้กำหนดนโยบาย มีการประเมินความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 225 คน         ผลการศึกษาพบว่าค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคภาพรวมของแบบสอบถามประเมินประสบการณ์การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ฉบับภาษาไทย มีค่า 0.91 และเมื่อ พิจารณารายด้าน อยู่ระหว่าง 0.75-0.89 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อกับคะแนนรวมทั้งฉบับ อยู่ระหว่าง 0.32-0.72 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเมื่อลบข้อคำถามข้อนั้นออก อยู่ระหว่าง 0.58-0.89 ดังนั้นแบบสอบถาม ECC-DM ฉบับภาษาไทย มีความเชื่อมั่นและสามารถนำไปใช้ในการประเมินประสบการณ์การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในสถานบริการสุขภาพของประเทศไทย  ABSTRACT        Validity and reliability if a Thai Version of the Experienced Continuity of Care for Diabetes Mellitus (ECC-DM) Questionnaire was translate form the Experienced Continuity of Care for Diabetes Mellitus. There was no instrument to assess continuity of care in Thailand. This study aimed to cross-culturally adapt the ECC-DM to Thai and to validate this is instrument.        The original ECC-DM was translated to Thai with permission from principle investigator who developed ECC-DM, in the United of Kingdom. The process followed the cross-cultural adaptation guideline. Forward translations from original to Thai were conducted and then verify the meaning by the researchers. Backward translation from Thai to English was performing to keep the meanings proper. Synthesis of the translation by assessment of equivalence including: 1) Semantic equivalence 2) Idiomatic equivalence 3) Experiential equivalence, and 4) Conceptual equivalence was conducted by 5 experts consisting of family physician, academicians, practitioners, and policy maker. The reliability of translated version was examined by distributing questionnaire to 225 patients with type 2 diabetes mellitus.         The results revealed that the overall Cronbach’s α coefficient of the ECC-DM Thai version was 0.91, while the ranges of reliability were 0.75-0.89, item-total correlation were 0.32-0.72 and alphas if individual items deleted were 0.58-0.89. The Thai version of ECC-DM achieved good level of reliability. This instrument can be used to assess the experiences of continuity f care for patients with type 2 diabetes mellitus who received care from health care facility in Thailand.

Downloads