ผลของการฝึกแบบอินเทอร์วาลในระดับความหนักและระยะเวลาต่างกันที่มีต่อความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ ปริมาณฮีโมโกลบิน สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก และแอนแอโรบิกเทรชโฮล

Authors

  • วิรัตน์ สนธิ์จันทร์
  • ประทุม ม่วงมี

Keywords:

การออกกำลังกาย, สมรรถภาพทางกาย, ฮีโมโกลบิน, เลือด, การไหลเวียน

Abstract

บทคัดย่อ         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกแบบอินเทอร์วาลที่ระดับความหนักและระยะเวลาต่างกัน ที่มีต่อความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ ปริมาณฮีโมโกลบิน สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก และ แอนแอโรบิกเทรชโฮล กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงและถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ฝึกวิ่งระดับความหนัก 90-95% กลุ่มที่ 2 ความหนัก 80-85% กลุ่มที่ 3 ความหนัก 70-75% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด และกลุ่มที่ 4 กลุ่มควบคุมตัวแปรที่ศึกษาคือ คามสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ ปริมาณฮีโมโกลบิน สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก และแอนแอโรบิกเทรชโฮล ข้อมูลที่ได้ก่อนและหลังการฝึกถูกนำมาวิเคราะห์หาค่าความแตกต่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent t-test) และวิเคราะห์แบบแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) นัยสำคัญทางสถิติกำหนดไว้ที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึกแบบอินเทอร์วาลเป็นเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 มีค่าความสามารถสูงสุดในการนออกซิเจนไปใช้ (ทดสอบด้วยการวิเคราะห์ลมหายใจ) และค่าแอนแอโรบิกเทรชโฮล (ทดสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์ลมหายใจ) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียงกลุ่มเดียว โดยเพิ่มจาก 46.20 ± 4.26 เป็น 49.99 ±3.62 mlkg-1/min-1 และ 26.88 ± 4.7 เป็น 31.35 ± 6.57 ml/kg-1/min-1 ตามลำดับ และกลุ่มที่ 1 ค่าความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 46.57 ± 5.13 เป็น 50.10 ± 5.94 mlkg-1/min-1 สำหรับปริมาณฮีโมโกลบิน และสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก (ทดสอบด้วยวิธีการของวินเกต) ของทุกกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลง จากข้อมูลที่ปรากฏทำให้สรุปได้ว่า การฝึกแบบอินเทอร์วาลที่ระดับความหนัก 80-5% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดสามารถพัฒนาค่าความสามารถสูงสุดในการนำออกซิเจนไปใช้ และค่าแอนแอโรบิกเทรชโฮลให้เพิ่มขึ้น และหารฝึกแบบอินเทอร์วาลทั้ง 3 ระดับไม่ทำให้ค่าปริมาณฮีโมโกลบิน และสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิกเปลี่ยนแปลง ABSTRACT        The objective of this research was to determine the effects of variation in intensity and duration of interval training programs on maximum oxygen uptake, hemoglobin, anaerobic performance and anaerobic threshold. Study samples consisted of thirty-two male students of the Faculty of sport Science, Burapha University. The samples were randomly assigned to one of the three programs: 90-95% maximum heart rate (MHR) (1 min. and 5 min. rest), 80-85% MHR (3 min. and 3 min. rest) and 70-75% MHR (5 min and 1 min. rest), respectively, and one group was kept as control. These programs were set at 3 days per week for 8 weeks. The response variables were maximum oxygen uptake, hemoglobin, anaerobic performance and anaerobic threshold. Dependent t-test and one-way ANOVA were utilized for pre-training and post-training data analysis. Significant level was set at .05. The results showed that after 8 weeks of interval training programs, maximum oxygen uptake (Gas analysis method) in group 1 and 2 was significantly increased from 46.57 ± 5.13 to 50.10 ±5.94 mlkg-1/min-1 and 46.20 ± 4.26 to 49.99 ±3.62 mlkg-1/min-1, respectively. For anaerobic threshold (Ventilation equivalent method), only group 2 had a significant increase from 26.88 ± 4.7 to 31.35 ± 6.57 ml/kg-1/min-1. There was no significant difference between pre-training and post- training in every group for hemoglobin (Blood sample method) and anaerobic performance (Wingate anaerobic test). It could be concluded from the existing data that the interval training program at 80-85% MHR 3minutes and rest 3 minutes could improve maximum oxygen uptake and anaerobic threshold. The interval training program at 90-95% MHR 1 minutes and rest 5 minutes could improve only the maximum oxygen uptake. All of interval training program could not change in hemoglobin and anaerobic performance. This could be a way of using the interval training programs for improvement of aerobic performance.

Downloads