ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

Authors

  • พรรณรัตน์ เป็นสุข
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ

Keywords:

โรคมือ เท้า ปาก, การปรับพฤติกรรม, พฤติกรรมสุขภาพ

Abstract

บทคัดย่อ         การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มทดลอง ประกอบด้วย ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน 38 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ ประกอบด้วย ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน 38 คน โปรแกรมสุขศึกษามีระยะเวลาสอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ชมเชยเมื่อปฏิบัติถูกต้อง สนับสนุนของรางวัล จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก แจกคู่มือบันทึกพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ส่งจดหมาย กระตุ้นเตือน 2 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test          ผลกาศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยในเรื่องความรู้การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p – value < 0.001) คะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความรุนแรง คะแนนเฉลี่ยของการรับรู้โอกาสเสี่ยง คะแนนเฉลี่ยขอการรับรู้ความสามารถของตนเอง คะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง และคะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ในผู้ปกครองกลุ่มทลอง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่างก่อนการทดลอง (p – value < 0.001) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p – value < 0.05)          ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กควรจัดกิจกรรมทางสุขศึกษา โดยให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นในการรับรู้และวางแผนป้องกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ประกอบกับครูพี่เลี้ยงเด็ก ควรพัฒนากิจกรรมทาสุขอนามัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ด ได้แก่ ทักษะการล้างมือเป็นประจำหลังรับประทางอาหารหรือหลังทำกิจกรมเป็นประจำ ABSTRACT          This study was a quasi-experimental research which aimed at examining the effects of behavioral modification for hand-foot-mouth disease prevention among the parents of pre-school children in the child development center at Ban Kruat District, Buriram Province. Two groups were recruited; an experimental group and a control group consisting 38 parents of pre-school children in each group. The health education program was implemented for 12 week. The learning activities include lectures, video, demonstrations, model, hand wash training for parents, compliments, reward, exchange of experience, advice on appropriate action to prevent hand-foot-mouth disease and giving handbook and recording their prevention behavior, sending the letters two times for motivation. Data were analyzed and expressed in percentages, means, and standard deviations. Paired t-test, and independent t-test were also used.           The results revealed that mean score knowledge of the experimental group on prevention was significantly increased, and higher than the control group (p – value < 0.001). Mean scores of perceived severity, perceived probability, perceived self-efficacy, perceived response efficacy, and behavior for prevention were significantly increased (p – value < 0.001), and higher than the control group (p – value < 0.05).

Downloads