คุณภาพชีวิตการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาล

Authors

  • อุษณีย์ เอกสุวีรพงษ์
  • บุรินทร์ ต.ศรีวงษ์

Keywords:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, การทำงาน, เภสัชกร

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาล และศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาลตามปัจจัยภูมิหลังที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือ เภสัชกรโรงพยาบาล จำนวน 387 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามประเภทของโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน - 11 พฤษภาคม 2555 ด้วยแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.909 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Independent t-test และ One-way ANOVA            ผลการวิจัย พบว่าคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมของเภสัชกรโรงพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง (3.51 ± 0.40 คะแนน) โดยองค์ประกอบด้านรายได้และผลประโยชน์ตอบแทนมีคะแนนต่ำที่สุด (2.98±0.73 คะแนน) ส่วนองค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ทางสังคมในที่ทำงานมีคะแนนสูงที่สุด (3.98±0.45 คะแนน) เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาลตามปัจจัยภูมิหลังพบว่าเภสัชกรโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ทำงาน ความเพียงพอของรายได้ ตำแหน่งงาน และลักษณะงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ งานบริการจ่ายยา และงานบริบาลเภสัชกรรมที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)              The objectives of this exploratory cross – sectional study were to examine quality of work life and compare the quality of work life of hospital pharmacists by background factors. The sample consisted of 387 hospital pharmacists using stratified random sampling by type of hospital. The data were collected between 2nd April – 11th May 2012 by questionnaire. The reliability value was 0.909. Statistical analyses were used in this study included percentage, frequency, mean, standard deviation, Independent t-test and One-way ANOVA.            The results showed that the overall quality of work life of hospital pharmacists was at moderate level (3.51 ± 0.40). Income and compensation dimension had the lowest score in quality of work life (2.98 ± 0.73). Relationships in the workplace dimension had the highest score in quality of work life (3.98 ± 0.45). Background factor such as years of experience, adequacy of income, work status and work activities in dispensing and pharmaceutical care were statistically significant with the overall quality of work life of hospital pharmacists (p-value < 0.05).

Downloads