ผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหอบหืด

Authors

  • ณฏฐพงษ์ พิมพ์โคตร
  • วีระศักดิ์ สืบเสาะ
  • ดนัย ธีวันดา

Keywords:

ความสามารถในตนเอง, การปรับพฤติกรรม, หืด, การป้องกันและควบคุม

Abstract

          งานวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคของผู้ป่วยหอบหืด โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมมาเป็นแนวทางกำหนดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วยหอบหืดอายุระหว่าง 16-60 ปี โรงพยาบาล ๕o พรรษา มหาวชิราลงกรณ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 33 คน ระยะเวลาศึกษา 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และ Paired-samples t-test            ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมที่ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคหอบหืด มีระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรค การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และมีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าโปรแกรมนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันโรคหอบหืดของผู้ป่วยในทางที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถป้องกันอาการกำเริบของโรคหอบหืดและดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ รวมทั้งสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วย โรคหอบหืดโรงพยาบาลอื่นๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกันได้             This study was a quasi-experimental research aimed to evaluate the result of behavioral modification programs to prevent asthma. The program was constructed by applying perceived self – efficacy theory and social support as activity guidelines.The target population was the asthma patients aged 16-60 years old at 50th Anniversary Mahavajiralongkorn hospital. The experimental group was 33 asthma patients who undertook a 12-weeks experimentation. Data were collected by interview questionnaire. Statistical analyses included percentages, means, standard deviations, minimums, maximums and Paired-samples t-test.            Results of the study showed that applied Perceived self-efficacy Theory and Social support was effective in helping asthma patients to gain higher mean scores of perceived self-efficacy, self-expected outcome, obtaining social support, and behavioral modification at a statistically significant level of 0.05. The application of Perceived self-efficacy Theory and Social support could improve preventive behavior among these asthma patients in that they could prevent the episode of asthma attack. This program can be used in asthma patients at other similar hospitals.

Downloads